การศึกษาความเป็นไทยเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ : รายงานผลการวิจัย

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” และ “นามธรรม” เพื่อใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการออกแบบแก่นักออกแบบเครื่องประดับ ทำให้เครื่องประดับมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแข่งขันในตลาดสากลได้ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับให้มั่นคงและยั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรพินท์ พานทอง, จิตรสิต อัศวจินดา, สุนทรี รัชโน, ภูวไนย ทรรทรานนท์, ลลนา สูตรตรีนาถ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6199
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” และ “นามธรรม” เพื่อใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการออกแบบแก่นักออกแบบเครื่องประดับ ทำให้เครื่องประดับมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแข่งขันในตลาดสากลได้ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องประดับให้มั่นคงและยั่งยืน การศึกษานี้เน้นความเป็นไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และเลือกศึกษาเฉพาะข้อมูลในภาคกลางของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นโครงการนำร่อง และเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาความเป็นไทยในภาคอื่นๆ ของประเทศไทยในอนาคต วิธีการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร ครอบคลุมข้อมูลด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ศิลปะและหัตถกรรม และข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องประดับของประเทศไทย ส่วนที่ 2 เป็นการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับกลุ่มประชากรไทยที่คัดเลือกจากคุณสมบัติที่เหมาะสม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ และการออกแบบสาขาต่างๆ การสำรวจรูปแบบเครื่องประดับที่ประชากรไทยในภาคกลางของประเทศไทยใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 3 เป็นการจัดสัมมนาปฏิบัติการออกแบบเครื่องประดับ เพื่อทดลองใช้จากข้อมูลจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ออกแบบเครื่องประดับโดยนักออกแบบอาชีพจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และนักออกแบบจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบด้านการออกแบบ ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลความเป็นไทย จากเอกสารและการสำรวจภาคสนาม มีความสอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความหมายของความเป็นไทยที่เป็น “นามธรรม” ได้แก่ เอกลักษณ์ไทย ความอิสระ ความเรียบร้อย ความสุภาพ ความเคารพนบนอบ ความเคารพระบบอาวุโส เป็นต้นและความหมายที่เป็น “นามธรรม” เป็นที่มาของความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” เป็นรูปวัตถุที่แสดงออกในศิลปกรรมสาขาต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม หรือสิ่งของเครื่องใช้ผลงานหัตถกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องจักสาน สิ่งทอ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น อีกทั้งพบว่าผลงานที่ออกเป็นรูปวัตถุได้นั้น เป็นความสามารถของช่าง หรือ ศิลปิน หรือนักออกแบบที่พยายามคลี่คลาย ตีความ จินตนาการจากความเป็น “นามธรรม” เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็น “รูปธรรม” ได้สอดคล้องกับความเชื่อ ศรัทธาของสังคมนั้น ทำให้ได้วัตถุที่สนองความจำเป็นในการดำรงชีวิตและเกิดความสุขทางใจ ซึ่งอาจสรุปลักษณะความเป็นไทย 6 ลักษณะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้ ได้แก่ 1. การใช้สมดุลย์ แบบสมมาตร และการใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งสื่อถึงความเชื่อเรื่องการละกิเลสในคำสอนของพุทธศาสนา เรื่องความเบา ความลอย ความนิ่งและความสงบ 2.การจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ สื่อถึงความเคารพในระบบอาวุโส 3.การใช้ขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมกับมนุษย์ เน้นความสง่างาม ไม่เน้นขนาดที่ใหญ่โต สื่อถึงความเรียบง่าย อิสระ 4.ความเป็นระเบียบ ประณีต และวิจิตร ความเป็นศิลปะประดับหรือศิลปะตกแต่ง ให้ความสำคัญกับฝีมือของช่าง ระดับความประณีตขึ้นอยู่กับความศรัทธาของช่าง และหน้าที่ใช้สอยของผลงานนั้น 5.การใช้สีหลายสีด้วยกัน โดยเฉพาะสีตรงข้าม สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตไทยที่มีผลต่อความสามารถในการใช้สีของช่าง ซึ่งคนไทยอยู่กับธรรมชาติซึ่งมีสีสรรมากมายเพราะอยู่ในเขตร้อน 6.ความเป็นประเพณีนิยม ยึดมั่นในประเพณีนิยม รูปลักษณ์ และลวดลายที่เป็นประเพณีนิยม ไม่นิยมเปลี่ยนแปลง การนำเอารูปลักษณ์และลวดลายที่เป็นประเพณีมาใช้ จึงแสดงความเป็นไทยได้ชัดเจนที่สุด การวิจัยนี้ได้ดำเนินการสำเร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ได้ข้อมูลความเป็นไทยที่เป็น “รูปธรรม” และ”นามธรรม” สำหรับใช้ในการออกแบบ ได้รูปแบบเครื่องประดับจำนวน 215 แบบ จากการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดปฏิบัติการออกแบบ ได้ตัวอย่างรูปแบบเครื่องประดับไทย ทั้งที่เป็นลักษณะไทยประเพณีและลักษณะสากล ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดหมวดหมู่แสดงให้เห็นแนวคิดในการออกแบบอย่างชัดเจน ข้อมูลต่างๆจากการวิจัยนี้ ยังอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ที่ต้องการสร้างความเป็นไทย รวมถึงการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ “ความเป็นไทย” เพื่อเผยแพร่ปลุกกระแสความนิยม ความสนใจ ความเข้าใจ แก่ประชากรไทยและนานาชาติได้ด้วย