การตรวจหาลำดับเบสของจีนไดไฮโดรไฟเลท รีดักเตส-ไทมิไดเลท ซินเทสของเชื้อมาเลเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์ ที่มีระดับความไวต่อยาไพริเมทามีนต่างกัน ด้วยวิธีการหาลำดับเบสโดยตรง : รายงานผลการวิจัย
ในอดีตยาไพริเมทามีน เป็นยาที่ให้ผลดีในการรักษษไข้มาลาเรียที่เกิดจาก Plasmodium falciparum โดยใช้ร่วมกับยาซัลฟาด็อกซิน แต่ในปัจจุบันยาดังกล่าวได้ลดความสำคัญในการใช้ลงเนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาในส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างกว้างขวาง ไพริเมทามีนเป็นยาในกลุ่ม antifolate ที่สามารถยับยั้...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6292 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ในอดีตยาไพริเมทามีน เป็นยาที่ให้ผลดีในการรักษษไข้มาลาเรียที่เกิดจาก Plasmodium falciparum โดยใช้ร่วมกับยาซัลฟาด็อกซิน แต่ในปัจจุบันยาดังกล่าวได้ลดความสำคัญในการใช้ลงเนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาในส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างกว้างขวาง ไพริเมทามีนเป็นยาในกลุ่ม antifolate ที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ dihydrofolate reductase-thymidylate synthase (DHFR-TS) ของเชื้อมาลาเรียซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของดีเอ็นเอ จากการศึกษาลำดับเบสของจีนที่มีรหัสในการสร้างเอนไซม์ DHFR-TS ของเชื้อมาลาเรียชนิด P. falciparum สายพันธุ์บริสุทธิ์ T9/94/RC17 และสายพันธุ์ผ่าเหล่าที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์อีก 2 สายพันธุ์ (T9/94/M1-1-(b3) และ T9/94/300.300) ที่ได้จากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ T9/94 โดยใช้สารเคมี ทำให้มีคุณสมบัติในการดื้อต่อยามากกว่าสายพันธุ์ T9/94 และสายพันธุ์บริสุทธิ์T9/94/RC17 ถึง 100 เท่าและ 10 เท่า ตามลำดับ พบว่าในส่วนของจีน TS ไม่มีความแตกต่างของลำดับเบสในสายพันธุ์บริสุทธิ์ทั้งสาม แต่สายพันธุ์บริสุทธิ์ T9/94/300.300 มีเบสตำแหน่ง 613 แตกต่างไปจากเดิมซึ่งทำให้เอนไซม์ในส่วน DHFR มีกรดอะมิโนที่ตำแหน่ง 164 เปลี่ยนไปจาก ไอโซลูวซีน (isoleucine) เป็นเมไทไอนีน (methionine) ส่วนในสายพันธุ์บริสุทธิ์ T9/94/M1-1-(b3) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบสในจีนดังกล่าวแสดงว่า การดื้อยาของสายพันธุ์บริสุทธิ์นี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการถอดและ/หรือ การแปลรหัสของจีนดังกล่าว ทำให้มีการสร้างเอนไซม์ชนิดนี้ได้มากกว่าสายพันธุ์ T9/94/RC17 ดังนั้นการที่สายพันธุ์บริสุทธิ์ทั้งสองมีระดับของการดื้อยาต่างกันอาจเนื่องมากจากกลไกในการดื้อยาต่างกันนั่นเอง |
---|