การวิเคราะห์หาปริมาณของแมงกานีส สังกะสีในดินและกากของเสียของโรงงานถ่านไฟฉายในเขตกรุงเทพมหานคร

จากผลของการขยายตัวทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานถ่านไฟฉาย โรงงานแบตเตอรี่ มีการทิ้งกากของเสียลงสู่สภาพแวดล้อม มีผลกระทบทำให้เกิดการสะสมปริมาณของโลหะหนักในสภาพแวดล้อมซึ่งได้แก่ แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) เป็นนต้น โลหะหนักเหล่านี้ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยแต่ถ้ามีการสะสมใ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ผุสตี ปริยานนท์, กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6301
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:จากผลของการขยายตัวทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานถ่านไฟฉาย โรงงานแบตเตอรี่ มีการทิ้งกากของเสียลงสู่สภาพแวดล้อม มีผลกระทบทำให้เกิดการสะสมปริมาณของโลหะหนักในสภาพแวดล้อมซึ่งได้แก่ แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) เป็นนต้น โลหะหนักเหล่านี้ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยแต่ถ้ามีการสะสมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอาจจะเป็นพิษรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตได้ ทั้งนี้เพราะโลหะหนักเหล่านี้มีอนุภาคขนาดเล็กมากซึ่งสามารถละลายได้ในขบวนการทางชีวเคมีของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (Davision 1974, Leu 1973) และโลหะหนักเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้หลายวิธีการ เช่น การหายใจ รับประทานเข้าไป หรือซึมเข้าทางผิวหนัง เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณการสะสมของ Mn และ Zn ในดินและในกากของเสียในเขตโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมเป็นพิษและอาจจะทำให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้นได้ ผลของการวิเคราะห์พบว่า ปริมาณของ Mn ที่สะสมอยู่ในดินมีปริมาณตั้งแต่ 1200 ppm ถึง 300,000 ppm ปริมาณของ Zn ที่สะสมในดินมีอยู่ตั้งแต่ 350 ppm ถึง 53,750 ppm เมื่อเทียบกับปริมาณของ Mn และ Zn ในดินทั่วไปซึ่งมีระหว่าง 76 ppm ถึง 260 ppm และ 1.49 ppm ตามลำดับ ส่วนในกากของเสียใน Mn และ Zn มีปริมาณตั้งแต่ 20,100 ppm ถึง 366,250 ppm และ 25,000 ppm ถึง 72,500 ppm ตามลำดับ ดังจะเห็นได้ว่าปริมาณของ Mn และ Zn ที่สะสมอยู่ในดินและในกากของเสียในเขตโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณที่สูงมาก ถึงระดับที่อาจจะมีผลต่อการให้เกิดสภาวะแวดล้อมเป็นพิษได้ และเนื่องจากการที่โรงงานมีการปลดปล่อยให้โลหะหนักลงสู่สภาพแวดล้อมเป็นจำนวนมาก และเกือบตลอดเวลาโดยไม่ได้มีวิธีการที่กำจัดของเสียเหล่านี้ให้ดีพอ จึงทำให้ฤดูกาลแทบจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการลดปริมาณการสะสมของโลหะหนักในดินที่อยู่ในเขตโรงงานอุตสาหกรรมเลยเมื่อเปรียลเทียบปริมาณการสะสมระหว่าง 3ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว