การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเลหลังการปลูกป่าชายเลน ที่ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยรีโมทเซนซิ่ง : รายงานผลการวิจัย

ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท-5 ระบบที เอม 3 ช่วงเวลาคือ ก่อนการปลูกป่า 11 มีนาคม 2538 ปีที่เริ่มปลูกป่า 19 มีนาคม 2541 และ 1 ปีหลังการปลูกป่า 18 กุมภาพันธ์ 2542 ได้ถูกนำมาใช้จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 9 ชั้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเล หลังการปลูกป่าชายเลนที่ตำบลปูยู อำเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อัปสรสุดา ศิริพงศ์, ศุภิชัย ตั้งใจตรง, ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6321
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท-5 ระบบที เอม 3 ช่วงเวลาคือ ก่อนการปลูกป่า 11 มีนาคม 2538 ปีที่เริ่มปลูกป่า 19 มีนาคม 2541 และ 1 ปีหลังการปลูกป่า 18 กุมภาพันธ์ 2542 ได้ถูกนำมาใช้จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 9 ชั้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเล หลังการปลูกป่าชายเลนที่ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ข้อมูลประกอบภาคสนามคือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกทำลายจาก 10.4% (2538) ลดลงเหลือ 3.35% (2541) และเพิ่มเล็กน้อย 5.08% (2542) ส่วนป่าชายเลนที่ปลูกใหม่จาก 7.05% ก่อนปลูกป่า เพิ่มเป็น 13.2% ตอนปลูกป่า และลดลง 9.26% หลังปลูกป่า เพราะมีปูแสมและลิงทำลายไปบ้าง ส่วนป่าชายเลนสมบูรณ์จาก 7.49% ก่อนปลูกป่า ลดลงเหลือ 6.65% ตอนปลูกป่า (เพราะบางแห่งอาจถูกเคลียร์เพื่อทำการปลูกป่า) และเพิ่มเป็น 16.12% หลังปลูกป่าพื้นที่นากุ้งจาก 7.09% ก่อนปลูกป่า เพิ่มเป็น 8.13% ช่วงปีปลูกป่า และลดลงเหลือ 7.15% หลังการปลูกป่า สำหรับป่าบกไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากเป็นป่าสงวนแห่งชาติ NDVI มีสีเข้มขึ้นหลังการปลูกป่า แสดงถึงความเจริญเติบโตที่ดี ในกรณีผลกระทบของการปลูกป่าชายเลนต่อกระบวนการและสัณฐานของฝั่งทะเล พื้นที่หาดโคลนเพิ่มจาก 1.044% เมื่อก่อนปลูกป่ามาเป็น 10.728% ในปีปลูกป่า แล้วกลับลดลงเหลือ 0.614% หลังปลูกป่า 1 ปี อย่างไรก็ตามพื้นที่เปิดโล่งในป่าเลน กลับลดลงจาก 5.636% เมื่อก่อนปลูกป่ามาเป็น 1.224% ในปีปลูกป่า แล้วเพิ่มเป็น 1.433% หลังปลูกป่า 1 ปี สำหรับด้านข้อมูลประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ในปีก่อนการปลูกป่า (2538) ความผิดสภาพของฝนรายปีและอุณหภูมิรายปีเป็นบวก (มากกว่าปกติ) น้ำท่าเป็นลบ ในปีปลูกป่า (2541) ซึ่งเกิดปรากฏการณ์เอลนินใหญ่ ความผิดสภาพของฝนรายปีเป็นลบ (น้อยกว่าปกติ) แต่ค่าผิดสภาพของอุณหภูมิรายปีเป็นบวก รวมทั้งค่าผิดสภาพของน้ำท่ารายปีก็เป็นบวก หนึ่งปีหลังการปลูกป่า (2542) ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ทั้งปลายเอลนินโญ่และเริ่มลานินญ่าในปีเดียวกัน ค่าผิดสภาพของฝนรายปีเป็นบวก แต่ค่าผิดสภาพของอุณหภูมิรายปีเป็นลบมากๆ และน้ำท่าเพิ่มขึ้นในสภาพทั่วไปฝนมีแนวโน้มลดลง ส่วนอุณหภูมิอากาศ และน้ำท่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีข้อมูลประกอบด้านทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลล่าสุดที่ได้รับเป็นปีที่มีการปลูกป่า นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังครอบคลุมทั้งจังหวัด ผลผลิตของการเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งจังหวัดก่อนปลูกป่ามี 5,966 ระหว่างปลูกป่ามี 5,858 ตัน ยังไม่ได้ข้อมูลหลังปลูกป่า แต่ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อพื้นที่ป่ามีน้อยลง ผลผลิตของการเลี้ยงสัตว์น้ำลดลง พื้นที่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำ (กุ้ง ปู ปลา) ก่อนปลูกป่ามีจำนวน 8,985 ไร่ ระหว่างปลูกป่าลดลงเหลือ 5,276.6 ไร่ มีการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นจาก 5 ไร่ ในปีก่อนปลูกป่าเป็น 23.67 ไร่ในปีที่ปลูกป่า ผลผลิตการเลี้ยงปลารวมระหว่างปลูกป่าเพิ่มขึ้นก่อนการปลูกป่า พื้นที่และผลผลิตของการเลี้ยงหอยแครงเพิ่มขึ้นจับจากก่อนปลูกป่ามาจนถึงปีที่ปลูกป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้งจังหวัดสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนากุ้งใน 3 ช่วงเวลาในบริเวณที่ศึกษา จากการแปลภาพด้วยดาวเทียม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการปลูกป่าแม้เพียง 1 ปีให้หลัง ก็ยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของระบบนิเวศสู่สภาพสมดุลขึ้น และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เช่น ปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกป่าให้มากยิ่งขึ้น