การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์กบเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร : รายงานผลการวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์กบนา Rana tigerina โดยการคัดเลือกลักษณะทางปริมาณของกลุ่มพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่างๆ นำมาผสมข้ามกลุ่มโดยวิธีผสมกลับสลับเพศ จากนั้นทำการศึกษาการเจริญเติบโตของกบรุ่นลูก (F[subscript 2]) อายุ 1 2 และ 3 เดือน นับจากวันที่วางไข่ พบว่าลูกกบมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.386 +- 0.565 กรัม 22.624 +-...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6331 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การปรับปรุงพันธุ์กบนา Rana tigerina โดยการคัดเลือกลักษณะทางปริมาณของกลุ่มพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่างๆ นำมาผสมข้ามกลุ่มโดยวิธีผสมกลับสลับเพศ จากนั้นทำการศึกษาการเจริญเติบโตของกบรุ่นลูก (F[subscript 2]) อายุ 1 2 และ 3 เดือน นับจากวันที่วางไข่ พบว่าลูกกบมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.386 +- 0.565 กรัม 22.624 +- 2.684 กรัม และ 42.367 +- 7.160 กรัม ตามลำดับ เมื่ออายุ 4 ถึง 6 เดือน สามารถแยกเพศได้ พบว่าเพศผู้ อายุ 4 เดือน มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 118.295 +- 19.575 กรัม อายุ 5 เดือนเท่ากับ 125.60 +- 35.627 กรัม อายุ 6 เดือน เท่ากับ 128.537 +- 40.923 กรัม ส่วนเพศเมียพบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 146.810 +- 19.578 กรัม ที่อายุ 4 เดือน 192.275 +- 35.592 กรัม เมื่ออายุ 5 เดือน และ 205.020 +- 40.506 กรัม เมื่ออายุ 6 เดือนตามลำดับ การผสมพันธุ์กบบูลฟร็อก Rana catesbeiana โดยการนำกบจากแหล่งต่างๆ คัดเลือกวิธีเดียวกันกับกบนามาทำการผสม จากนั้นคัดเลือกรุ่นลูกจากกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ของรุ่นถัดไป จากนั้นทำการชั่งน้ำหนักโดยนับอายุลูกกบเริ่มหางหดหมดเป็นเดือนที่ 1 จนถึงเดือนที่ 6 พบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 9.996 +- 0.793 กรัม 25.816 +- 1.847 กรัม 44.340 +- 3.133 กรัม 161.530 +- 22.399 กรัม 175.750 +- 20.519 กรัม และ 205.440 +- 23.498 กรัม ตามลำดับ ผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของกบนาและกบบูลฟร็อก เพื่อเป็นข้อมูลด้านการผลิตกบเนื้อ ในช่วงระยะ 4-6 เดือน พบว่ากบนาเพศเมียกับกบบูลฟร็อกมีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน และจะมีน้ำหนักประมาณ 5-6 ตัว/กิโลกรัม การศึกษาแบบแผนการหลั่งฮอร์โมนเพศ ในกบนาและกบบลูฟร็อกเพศผู้และเพศเมียที่โตเต็มที่ในรอบหนึ่งปี โดยเก็บตัวอย่างพลาสมาทุกเดือนวัดปริมาณฮอร์โมนโดยวิธีเรดิโออิมมูโนเอสเสย์ พบว่าปริมาณเทสทอสเตอโรนในกบนาเพศผู้และเพศเมีย จะเริ่มสูงขึ้นในเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยในเพศผู้วัดได้สูงถึง 3,000 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนพฤกษภาคม และในเพศเมียวัดได้ 1,500-1,800 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และฮอร์โมนนี้จะมีปริมาณต่ำวัดได้ 100 พิโดโมล/ลิตร ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย การหลั่งฮอร์โมนเอสตราไดออล 17 บีต้า กบนาเพศเมียพบว่ามีแบบแผนการหลั่งเช่นเดียวกับการหลั่งเทสทอสเตอโรน คือ จะลดลงต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ปริมาณเทสทอสเตอโรนในกบบลูฟร็อกทั้งเพศผู้และเพศเมียจะสูงตลอดทั้งปี โดยในเพศผู้และเพศเมียวัดได้สูงถึง 2,600 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนเมษายนและมิถุนายนตามลำดับ ส่วนปริมาณเอสตราไดออลในกบบลูฟร็อกเพศเมียจะสูงตลอดปี วัดได้ 1,000-5,000 พิโดโมล/ลิตร จากผลที่ได้อาจสรุปได้ว่า เมื่อนำกบนาและกบบูลฟร็อกมาเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเดียวกันในประเทศไทย กบนามีการสืบพันธุ์เป็นฤดูกาล คือ สืบพันธุ์เฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงตุลาคมส่วนกบบูลฟร็อกน่าจะมีการสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี |
---|