ความสัมพันธ์ระหว่างระยะการเจริญและการผลิตสารพิษอัมพาต และสารเทโทรโดท็อกซินในเชื้อ vibrio spp. : รายงานผลการวิจัย
ได้ทดลองหาแบบการเจริญของเชื้อ Vibrio spp. 2 สายพันธุ์ คือ St-1-1 และ Sp-H-2 โดยนำมาสัมพันธ์กับการผลิตสารพิษอัมพาตจากหอย (PSP[subscript s]) และสารเทโทรโดท็อกซิน (TTX[subscript s]) ของเชื้อทั้งสอง พบว่าเชื้อทั้งสองแสดงลักษณะ viable but non-culturable ในช่วง declining phase มีการสร้างทั้ง PSP[subscript...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6332 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ได้ทดลองหาแบบการเจริญของเชื้อ Vibrio spp. 2 สายพันธุ์ คือ St-1-1 และ Sp-H-2 โดยนำมาสัมพันธ์กับการผลิตสารพิษอัมพาตจากหอย (PSP[subscript s]) และสารเทโทรโดท็อกซิน (TTX[subscript s]) ของเชื้อทั้งสอง พบว่าเชื้อทั้งสองแสดงลักษณะ viable but non-culturable ในช่วง declining phase มีการสร้างทั้ง PSP[subscript s] และ TTX[subscript s] ภายในเซลล์ในช่วงระยะ exponential phase และสร้างด้วยปริมาณที่ไม่คงที่ไปจนถึงระยะ stationary phase และ declining phase พบว่ามีการปล่อยสารพิษอนุพันธุ์ซัคซิท๊อกซิน (STX[subscript s]) และกอนิออท๊อกซิน (GTX[subscript s]) ออกมาสู่อาหารเลี้ยงเชื้อภายนอกเซลล์ทันทีที่สารนี้ถูกสร้างขึ้น ไม่พบสารอนุพันธุ์ TTX[subscript s] ในอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่พบว่ามีสารนี้ปริมาณสูงอยู่ภายในเซลล์ ในบางระยะเชื้อสามารถผลิตสารทั้ง 3 อนุพันธุ์ได้พร้อมกัน หรือบางครั้งอาจสร้างพร้อมกันเพียง 2 อนุพันธุ์ พบว่าภาวะกรด-ด่างในขณะที่มีการผลิตสารพิษจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เลี้ยงเชื้อซึ่งมีผลให้สารพิษที่ปล่อยออกสู่ภายนอกเซลล์สูญเสียคุณสมบัติจึงไม่สามารถตรวจพบสารเหล่านี้เมื่อเลี้ยงเชื้อไว้ตั้งแต่เวลา 168 ชั่วโมงเป็นต้นไป แต่ในเวลาดังกล่าวยังสามารถตรวจพบสารพิษภายในเซลล์ได้ จึงอาจเป็นการแสดงให้เห็นว่า pH น่าจะไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างสารพิษของเซลล์ ผลการทดลองยืนยันว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถสร้างสารพิษทั้ง 3 อนุพันธุ์ ได้ในเชื้อเดียวกัน |
---|