การศึกษาสนามแม่เหล็กบรรพกาลเพื่อหาอายุหินของหมวดหิน ภูทอกและภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปรียบเทียบอายุหมวดหินภูทอกและหมวดหินภูพานโดยใช้ลักษณะความเป็นแม่เหล็กในหินเพื่อสร้างลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล การศึกษาได้เก็บตัวอย่างหมวดหินภูทอกจากเขาภูทอก อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นสลับกันของหินทรายเนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียดสีน้ำตาลอมแดงชั้นหนาท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิโรจน์ ดาวฤกษ์, ปัญญา จารุศิริ, สุวภาคย์ อิ่มสมุทร
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6347
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปรียบเทียบอายุหมวดหินภูทอกและหมวดหินภูพานโดยใช้ลักษณะความเป็นแม่เหล็กในหินเพื่อสร้างลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล การศึกษาได้เก็บตัวอย่างหมวดหินภูทอกจากเขาภูทอก อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นสลับกันของหินทรายเนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียดสีน้ำตาลอมแดงชั้นหนาที่มีการวางชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่ และหินทายแป้งเนื้อปูนสีแดงน้ำตาลแกมม่วงที่มีโครงสร้างลอนคลื่น ความหนารวม 139 เมตร จำนวน 74 ตัวอย่าง และหมวดหินภูพานจากเขาภูผาผึ้ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินทรายเนื้อหยาบสีขาวอมเหลืองและหินกรวดมนสีน้ำตาลอมเหลือง ความหนารวม 100 เมตร จำนวน 37 ตัวอย่าง ผลการศึกษาโดยการวัดค่าทิศทางสนามแม่เหล็กที่แฝงในหินด้วยเครื่องแมกนีโตมิเตอร์ชนิดหมุนแสดงผลเป็นตัวเลข พบว่าสภาพแม่เหล็กทุติยภูมิในตัวอย่างหินทั้งจากหมวดหินภูทอกและภูพานถูกทำลายจนหมดเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 350 - 500 C หรืออาจถึง 650 C การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหมวดหินภูทอก ประกอบไปด้วยการสลับกันของขั้นแม่เหล็กแบบปกติ 5 ครั้งและขั้นแม่เหล็กแบบย้อนกลับ 4 ครั้ง และสามารถเทียบกับมาตรฐานการกลับทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกได้อายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหมวดหินภูพาน ประกอบไปด้วยการสลับกันของขั้นแม่เหล็กแบบปกติ 7 ครั้งและขั้นแม่เหล็กแบบย้อนกลับ 6 ครั้ง และสามารถเทียบกับมาตรฐานการกลับทิศทางของสนามแม่เหล็กโดยได้อายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น ข้อมูล VGP (Virtual Geomagnetic Pole) ของหินทรายภูทอกมีค่าเฉลี่ย 61.9 N, 189.9 E, A[subscript 95] = 1.8 ซึ่งใกล้เคียงกับหินทรายภูพานซึ่งมีค่าเฉลี่ย 59.1 N, 190.7 E, A[subscript 95] = 11.3 จากข้อมูลทั้งหมดสรุปได้ว่าหมวดหินทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งในแง่ตำแหน่งการสะสมตัวและประวัติของการถูกแปรสัณฐาน แต่จากลำดับชั้นแม่เหล็กบรรพกาลทั้งสองที่มีความแตกต่างกันทำให้สรุปได้ว่าหมวดหินทั้งสองมีอายุไม่เท่ากันโดยหมวดหินภูทอกมีอายุอ่อนกว่า