ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาดนตรีศึกษาที่มีส่วนสนับสนุน ดนตรีไทย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลาง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาดนตรีศึกษาที่มีส่วนสนับสนุนดนตรีไทย และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนดนตรีไทยในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลาง วิธีดำเนินการวิจัย ได้ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชากรคือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรวรรณ ขมวัฒนา, วันชัย ขมวัฒนา, กัตติกา ตังธนกานนท์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6597
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาดนตรีศึกษาที่มีส่วนสนับสนุนดนตรีไทย และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนดนตรีไทยในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลาง วิธีดำเนินการวิจัย ได้ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชากรคือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของหลักสูตรใหม่ และใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากร คือผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนดนตรี ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ในส่วนกลาง ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ วิชาดนตรีศึกษามีส่วนสนับสนุนดนตรีไทย โดยนักเรียนได้รับความรู้จากวิชาดนตรีศึกษาเน้นหนักทางทฤษฎีมากกว่าทางปฏิบัติ อุปสรรคในการเรียนการสอนดนตรีไทยในทรรศนะของอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารที่สำคัญที่สุดคือขาดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดนตรี ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคของการเรียนดนตรีไทยของนักเรียนซึ่งต่างให้ข้อคิดเห็นว่าอุปสรรคที่สำคัญคือขาดเครื่องดนตรีที่จะฝึกซ้อม ขาดผู้สอนและสถานที่ สาเหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้นักเรียนเล่นดนตรีไทยเป็น คือ การที่มีพื้นฐานมาแต่เด็กๆ และพบว่าความถนัดในดนตรีไทยของอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีศึกษามีผลต่อการเล่นดนตรีไทยได้ของนักเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ดังนั้นในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนดนตรีไทยให้เฟื่องฟูนั้น ผู้บริหารการศึกษาควรให้ความสำคัญต่อดนตรีไทยโดยจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดนตรีให้แก่โรงเรียนให้มากขึ้น และควรเน้นการสอนวิชาดนตรีไทยทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม และโรงเรียนควรจัดหาอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีศึกษาที่ถนัดทางดนตรีไทยมาสอนนักเรียนด้วย