การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการพาณิชย์และด้านกายภาพ ของการขุดคอคอดกระ ส่วนที่ 3 : ส่วนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม : รายงานผลการวิจัย

การศึกษาในส่วนสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การจำแนกกิจกรรมของโครงการที่จะดำเนินการพื้นที่ที่ครอบคลุม เงื่อนไขของโครงการ การสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้มอภาคสนามและการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิ และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการต่อปัจจัยที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยใช้ข้อมูลทั้งภาคสนามและข้อมูลทุติยภูมิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต, พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์, สมภพ รุ่งสุภา, อานุภาพ พานิชผล, สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6710
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาในส่วนสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การจำแนกกิจกรรมของโครงการที่จะดำเนินการพื้นที่ที่ครอบคลุม เงื่อนไขของโครงการ การสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้มอภาคสนามและการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิ และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการต่อปัจจัยที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยใช้ข้อมูลทั้งภาคสนามและข้อมูลทุติยภูมิ โดยใช้แนวคลองคอคอดกระ แนว 5A ซึ่งฝั่งทะเลอันดามันเริ่มต้นทีอำเภอปากบารา จังหวัดสตูล ไปออกฝั่งอ่าวไทย ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ระยะทางบนบก 102 กิโลเมตร เมื่อรวมสันดอนและร่องน้ำในทะเลทั้งสองฝั่งรวมเป็น 120 กิโลเมตร คลองที่คาดว่าจะขุดเป็นแบบสำหรับเรือขนาด 500,000 เดทเวทตัน สองช่องทางสวนกันได้และแบบสำหรับเรือ 250,000 เดเวทตัน หนึ่งช่องทางเรื่อวิ่งทางเดียว กำหนดการประเมินผลกระทบแบบ Simple Check List รวมกับแบบ Descriptive Check List และ Scaling Check List ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระยะการขุดคลองและระยะดำเนินการ และกำหนดปัจจัยสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทางกายภาพทางชีวภาพ และทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ผลการศึกษาพบว่า มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมพบว่า ทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับผลกระทบเชิงลบ ระดับ 0, -1,-2 และ -3 เท่ากับ 2,2, 8 และ 15 ปัจจัยจากทั้งหมด 32 ปัจจัย และได้รับผลกระทบเชิงบวกที่ระดับ 1,2 และ 3 เท่ากับ 1 และ 4 ปัจจัยจาก 32 ปัจจัย และทางฝั่งอ่าวไทย ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงลบที่ระดับ 0,-1, 2 และ -3 เท่ากับ 3,4,5 และ 15 ปัจจัย จากทั้งหมด 32 ปัจจัย และได้รับผลกระทบเชิงบวกที่ระดับ 1,2 และ 3 เท่ากับ 1 และ 4 ปัจจัยจาก 32 ปัจจัย