การพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตโดยการสอนตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนในด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดประยุกต์ใช้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยการสอบตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก มีกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุปราณี จิราณรงค์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6736
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของนักเรียนในด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดประยุกต์ใช้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยการสอบตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก มีกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) จำนวน 34 คน ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์กที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดที่สำคัญ 3 ทักษะ คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การประเมินและการอธิบาย ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การสร้าง การออกแบบ การจินตนาการ และการสมมติทักษะการคิดประยุกต์ใช้ ได้แก่ การใช้ความรู้ การประยุกต์ความรู้ และการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบความสามารถในการคิด แผนการสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดสูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิดของสเติร์นเบอร์ก มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดสูงกว่าก่อนได้รับการสอนทุกด้าน คือด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์และการคิดประยุกต์ใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01