ปัจจัยและผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ และผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบและเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ประณาท เทียนศรี
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6737
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ และผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบและเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบในวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้จากการรวบรวมข้อมูลจากข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และจากการสัมภาษณ์หลังจากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบในวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ คือ ไม่แน่ใจ/เดา คิดตรวจทานอีกครั้ง คิดออกภายหลังกากบาทผิดข้อ และอ่านโจทย์ไม่รอบคอบตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีระดับความยากของข้อสอบมาเกี่ยวข้องบ้าง 2. ผลการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบในวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนเปลี่ยนคำตอบใหม่แล้วเลือกได้ถูกต้องมากขึ้น 3. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีมาก และระดับดี เมื่อมีการเปลี่ยนคำตอบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบใหม่ จากเดิมเลือกข้อผิดเปลี่ยนมาเลือกข้อถูกได้มากกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับที่ต่ำกว่า