การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กับวิธีสอนแบบปกติ : รายงานการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6789 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับวิธีสอนแบบปกติ 3. เพื่อศึกษาความพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยวิธีทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2534 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 39 คน เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการสอนวิชาวรรณคดีไทย แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบสำรวจความพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย: 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ได้คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบเรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และมีความเห็นว่า การสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ช่วยให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น มีมนุษยสัมพันธ์ในหมู่เพื่อน รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามเรียนรู้การทำงานร่วมกัน รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการใช้เหตุผล และกล้าแสดงความคิดเห็น |
---|