การวิเคราะห์เนื้อเรื่องจากแบบรับฟ้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความถี่ของพฤติกรรมในการใช้แบบรับฟ้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปัที่ 2 2. เพื่อวิเคราะห์เนื้อหารสาระจากแบบรับฟ้องที่นักเรียนบันทึก 3. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนจากการบันทึกพฤติกรรมลงในแบบรับฟ้อง 4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุปราณี จิราณรงค์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6807
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความถี่ของพฤติกรรมในการใช้แบบรับฟ้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปัที่ 2 2. เพื่อวิเคราะห์เนื้อหารสาระจากแบบรับฟ้องที่นักเรียนบันทึก 3. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนจากการบันทึกพฤติกรรมลงในแบบรับฟ้อง 4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้องในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หนึ่งห้องเรียน จำนวน 39 คน ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนชาย 21 คนและนักเรียนหญิง 18 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินไปตลอดภาคปลายของปีการศึกษา 2534 โดยให้นักเรียนบันทึการฟ้องลงในแบบรับฟ้องที่จัดไว้ให้ นอกจากนี้ยังได้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้องในชั้นเรียน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ผลการวิจัยมีข้อสรุป ดังนี้ 1. ในด้านความถี่ของพฤติกรรมในการใช้แบบรับฟ้อง 1.1 ความถี่ของพฤติกรรมการฟ้องในแต่ละสัปดาห์ตลอดช่วง 16 สัปดาห์ อยู่ในช่วง 11 ถึง 88 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยมีความถี่ของการฟ้อง ประมาณ 40 ครั้งต่อสัปดาห์ 1.2 ความถี่ของพฤติกรรมการฟ้องในช่วง 8 สัปดาห์แรก มีการแปรผันมากกว่ 8 สัปดาห์หลัง 1.3 ความถี่การฟ้องของนกเรียนชายและนักเรียนหญิงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน 2. ในด้านเนื้อหาสาระของการฟ้อง 2.1 สาระที่ฟ้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเพื่อนมากกว่าเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง 2.2 สาระที่ฟ้องเกี่ยวกับตนเอง นักเรียนฟ้องในเรื่องเกี่ยวกับถูกเพื่อนทำร้ายร่างกายมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การถูกเพื่อนแกล้งด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาน การถูกเพื่อนใช้วาจาว่ากล่าวและการถูกเพื่อนทำกับสิ่งของ 2.3 สาระที่ฟ้องเกี่ยวกับเพื่อน นักเรียนฟอ้งในเรื่องของพฤติกรรมของเพื่อนโดยทั่ว ๆ ไปมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การถูกเพื่อนทำร้ายร่างกาย การถูกเพื่อนแกล้งด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย การถูกเพื่อนทำกับสิ่งของและการถูกเพื่อนใช้วาจาว่ากล่าว 3. ในด้านลักษณะข้อผิดพลายของการใช้ภาษาไทย 3.1 นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการแต่งประโยคมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องการสะกดการัตน์ เรื่องการใช้คำและเรื่องการเว้นวรรคตอน 3.2 ในเรื่องของการแต่งประโยค นักเรียนมีข้อหิดพลาดเรื่องการขาดคำ และกลุ่มคำที่จำเป็นในประโยคมากที่สุด รองลงมาคือ เรืาองมีคำและกลุ่มคำเกินในประโยคและเรียงคำหรือกล่มคำผิดลำดับ 3.3 ในเรื่องการสะกดการันต์ รักเรียนมีข้อผิดพลานเรื่องการใช้พยัญชนะต้นผิดมากทีสุด รองลงมาคือ ใช้วรรณยุกต์ผิด ใช้สระผิด เขียนผิดทั้งคำ ใช้ตัวสะกดผิดและใช้ตัวการันต์ผิด 3.4 ในเรื่องการใช้คำ นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการใช้คำผิดความหมายมากที่สุด รองลงมาคือใช้คำฟุ่มเฟือยและใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน 3.5 ในเรื่องการเว้นวรรคตอน นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการเว้นวรรค ในที่ไม่ควรเว้นมากที่สุด รองลงมา คือ การไม่เว้นวรรคในที่ควรเว้น 4. ในด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้อง นักเรียนส่วนใหญ่ (97%) เป็นด้วยกับการใช้แบบรับฟ้องช่วยในการบริหารชั้นเรียนเพราะทำให้ครูได้ทราบพฤติกรรมของนักเรียนทั้งห้องในเวลาและสถานที่ต่าง ๆ กัน