การเปรียบเทียบการใช้ตัวเลขเพื่อระบุจำนวนเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกันและความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค : รายงานผลการวิจัย
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการใช้ตัวเลขเพื่อระบุจำนวนเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกันและความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค สมมติฐานในการวิจัย คือ การใช้ตัวเลขในการระบุจำนวนมีความแตกต่างกันเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกัน และความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิคแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการทดสอบครั...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6818 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการใช้ตัวเลขเพื่อระบุจำนวนเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกันและความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค สมมติฐานในการวิจัย คือ การใช้ตัวเลขในการระบุจำนวนมีความแตกต่างกันเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกัน และความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิคแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 180 คน ซึ่งสุ่มมาจากโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดยานนาวา โรงเรียนสตรีจุลนาค โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ในการทดสอบครั้งที่ 1 ผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบในแต่ละโรงเรียนเข้ารับการทดสอบพร้อมกันทั้ง 30 คน ทำการทดสอบแบบทดสอบ 3 ชุด คือ แบบทดสอบการเติมตัวเลขโดยเสรี 1 ชุด ใช้ เร้าด้วยเลขไทย 1 ชุด และใช้เร้าด้วยเลขอารบิค 1 ชุด ส่วนในการทดสอบครั้งที่ 2 ผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบเข้ารับการทดสอบทีละคน เพื่อทดสอบความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค ตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้า โดยที่แต่ละจำนวนให้เขียนภายในเวลา 20 วินาที หลังจากที่ผู้รับการทดสอบเสร็จสิ้นการทดสอบครั้งที่สองนี้แล้วผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบตอบแบบสอบถามอีก 1 ชุด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผู้รับการทดสอบใช้ตัวเลขอารบิคในการระบุจำนวนมากกว่าเลขไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (2) ผู้รับการทดสอบใช้ตัวเลขอารบิคในการระบุจำนวนในแบบทดสอบทั้ง 3 ชุดนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (3) ผู้รับการทดสอบใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าเสรีมากที่สุดคือ มากกว่าในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขไทยและมากกว่าในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขอารบิคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (4) ผู้ทำการทดสอบใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขไทยน้อยกว่าการใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขอารบิคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (5) ผู้รับการทดสอบมีคะแนนการเขียนเลขไทยและเลขอารบิคตั้งแต่หนึ่งถึงเก้าแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 ส่วนเลขศูนย์ไทยกับเลขศูนย์อารบิคไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 (6) ผู้รับการทดสอบมีคะแนนเฉลี่ยของการเขียน เลขไทยตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยของการเขียนเลขอารบิคตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่นกัน |
---|