ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัย 2 ปี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อชุมชนท้องถิ่น ประการแรก กระบวนการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ศึกษาในท้องถิ่นแต่ก็อยู่ในบริบทของเศรษฐกิจสังคมของโลกและของประเทศ ประการที่สอง ต้องการศึกษาถึงผ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุริชัย หวันแก้ว
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/696
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.696
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic การพัฒนาอุตสาหกรรม--ไทย (ภาคตะวันออก)
ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะสังคม
ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะสังคม
ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ
ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ
spellingShingle การพัฒนาอุตสาหกรรม--ไทย (ภาคตะวันออก)
ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะสังคม
ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะสังคม
ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ
ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ
สุริชัย หวันแก้ว
ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
description การวิจัยนี้เป็นงานวิจัย 2 ปี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อชุมชนท้องถิ่น ประการแรก กระบวนการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ศึกษาในท้องถิ่นแต่ก็อยู่ในบริบทของเศรษฐกิจสังคมของโลกและของประเทศ ประการที่สอง ต้องการศึกษาถึงผลกระทบทางสังคมในท้องถิ่นอันสืบเนื่องมากจากกระบวนการนั้น และประการที่สามเพื่อแสวงหาข้อสรุป และแนวทางศึกษา ตลอดจนแนวทางนโยบายต่อไป วิธีการศึกษา ใช้วิธีการศึกษาด้านเอกสารและการศึกษาภาคสนาม โดยในปีแรกเน้นการศึกษาเชิงเอกสาร และมีการลงศึกษาภาคสนามในพื้นที่อย่างกว้างๆ แต่ก็ลงศึกษาพื้นที่ทั้งใกล้และไกลจากนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบและสังเกตผลกระทบในรูปแบบต่างๆ และในปีที่ 2 มีการคัดเลือกชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่ลงศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยชุมชนหนึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรม และอีกชุมชนหนึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนบางส่วนประกอบอาชีพประมง ข้อค้นพบ บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศและภูมิภาคนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการเกิดของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก กล่าวคือ ช่วงเศรษฐกิจผันผวน (2523-2528 ปี ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกไม่เอื้อต่อการเริ่มต้นโครงการประกอบกับเศรษฐกิจภายในตกต่ำ ต่อมาเงื่อนไขปัจจัยระหว่างประเทศดีขึ้นโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากการเพิ่มค่าเงินเยน ทำให้มีการย้ายโรงงาน ฯลฯ ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจด้านนโยบายของไทยปรับปรุงให้สอดคล้องนั้น แต่อย่างไรก็ดี สภาพการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งก็เป็นปัญหาอยู่บ้าง สำหรับชุมชนเกษตรกรรมที่เลือกศึกษานั้นพบว่า ประการแรก ผลกระทบระยะแรก ได้แก่ การซื้อขายที่ดิน การเปลี่ยนมือของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีมาก แม้เป็นเขตนอกนิคมอุตสาหกรรมก็ตาม แรงกดดันที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรมเดิมจึงมีมาก ประการที่สอง ยังไม่มีแรงงานอพยพจากถิ่นอื่น มีแหล่งงานอุตสาหกรรมให้ทำในบริเวณไม่ไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านแต่เดิมอยู่ในภาคเกษตรก็จะย้ายเข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประการที่สาม แม้ว่าพื้นที่บริเวณหมู่บ้านถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียว ตามผังเมืองของจังหวัดระยองที่ผ่านมาปลูกพืชยูคาลิปตัส ป่าไม้แต่ในสภาพจริงๆ นั้นถูกทำลายหมดแล้ว และบางส่วนคาดว่าจะทำสนามกอล์ฟในอนาคต ประการที่สี่ เศรษฐกิจของหมู่บ้านที่ผ่านมาไม่แตกต่างกันมาก เพราะอยู่ในอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ทำนา พอมีการขายที่ดินที่เคยทำการเกษตรบางส่วน และบางส่วนได้มีลูกหลานเข้าทำงานที่ในโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าที่ได้ทำในนิคมอุตสาหกรรมจะมีไม่มากก็ตาม ทำให้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคมเริ่มแตกต่างกันมากขึ้น ประการที่ห้า เริ่มมีผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นโดยผ่านผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ป่าชายเลนถูกบุกรุก น้ำเสียและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและส่งกลิ่นรุนแรง น้ำฝนไม่สามารถบริโภคได้จะเพราะคราบน้ำมันจับอยู่เต็มไปหมด ประการที่หก ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับวัดยังคงตามเดิม คือ ชาวบ้านชุมชนผูกพันในฐานะเป็นสถาบันศาสนา แต่วัดเองยังมิได้ปรับตัวทันกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนักเช่นยังเรี่ยไรเงินเพื่อก่อสร้างวัดจนเกินความจำเป็น สำหรับบ้านประมงนั้น มีผลกระทบทางสังคมดังนี้ ประการแรก การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนมือกรรมสิทธิ์ที่ดินแม้มีไม่มากแต่ก็มีมากขึ้น มีแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยวเกิดขึ้นและมีสนามกอล์ฟที่เกิดขึ้นใกล้ๆ ประการที่สอง เกิดการอพยพเข้ามาของแรงงานจากต่างถิ่น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้ามาทำงานก่อสร้างโรงแรมและคอนโดมิเนียมในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยจะอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เด็กๆ ซึ่งเป็นลูกของคนงานก่อสร้างเข้ามาเรียนในโรงเรียนวัด มีปัญหาการปรับตัวในโรงเรียน ประการที่สาม เนื่องจากมีความหลากหลายขึ้น ดังนั้นสิ่งแวดล้อมในบริเวณชุมชนเริ่มเลวลง สุขลักษณะไม่ดีโดยเฉพาะกรณีค่ายคนงานได้รับผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ ควันเขม่าสีดำกระจายทั่วท้องฟ้าบริเวณที่อาศัย เด็กเล็กๆ ได้รับผลรุนแรงมากเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ใหญ่ยังไม่มีใครแสดงอาการ น้ำฝนบริโภคไม่ได้ต้องดื่มน้ำประปา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ชายทะเลใกล้ๆ สกปรกมากขึ้นทุกวัน สารเคมีเป็นพิษก็มีในละแวกชุมชนนี้ ผลกระทบในระดับชุมชนเหล่านี้ โดยเฉพาะด้านมลภาวะปรากฏเป็นปัญหาเดือดร้อน และนับเป็นการทดสอบขีดความสามารถของกลไกและการจัดองค์กรการรองรับปัญหาได้ จุดอ่อนสำคัญได้แก่ ลักษณะกลไกที่เป็นภาพรวม และยังเป็นโครงสร้างที่รวมศูนย์อยู่มาก มิหนำซ้ำความเชื่อมโยงกับกลไกของชุมชนและท้องถิ่น ปัญหาที่เป็นผลกระทบสืบเนื่องจากโครงการทั้งที่คาดหมายไว้และที่เกิดขึ้นจริงจึงมิได้มีการจัดการได้ดีเท่าที่ควร ในข้อเสนอแนะทางนโยบายและการศึกษาต่อไปนั้น ประการแรก มิติทางสังคมของนโยบายอุตสาหกรรมมีความสำคัญยิ่ง แม้จะมีการเตรียมการมาบ้างและอาจดีกว่าในกรณีที่มีนิคมอุตสาหกรรมภาคเอกชน แต่ยังขาดความใส่ใจจริงจังและขาดการประสานงาน ประการที่สอง การติดตามแก้ไขปัญหาผลกระทบสืบเนื่องยังไม่เข้มแข็ง ประการที่สาม การปรับปรุงองค์การและกลไกรองรับปัญหายังจำเป็นต้องเน้น โดยเฉพาะกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ส่วนการศึกษาวิจัยในอนาคตน่าจะสนใจเชื่อมโยงการศึกษาที่มีฐานอยู่ในชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปกับการศึกษาเชิงนโยบายให้มากขึ้น
author2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
author_facet จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สุริชัย หวันแก้ว
format Technical Report
author สุริชัย หวันแก้ว
author_sort สุริชัย หวันแก้ว
title ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
title_short ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
title_full ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
title_fullStr ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
title_full_unstemmed ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
title_sort ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2006
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/696
_version_ 1681414143135973376
spelling th-cuir.6962012-07-07T05:06:50Z ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อชุมชนท้องถิ่น : รายงานผลการวิจัย สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา การพัฒนาอุตสาหกรรม--ไทย (ภาคตะวันออก) ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะสังคม ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะสังคม ชุมชนบ้านเพลา (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ ชุนชนบ้านห้วยโป่ง (ระยอง)--ภาวะเศรษฐกิจ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัย 2 ปี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อชุมชนท้องถิ่น ประการแรก กระบวนการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ศึกษาในท้องถิ่นแต่ก็อยู่ในบริบทของเศรษฐกิจสังคมของโลกและของประเทศ ประการที่สอง ต้องการศึกษาถึงผลกระทบทางสังคมในท้องถิ่นอันสืบเนื่องมากจากกระบวนการนั้น และประการที่สามเพื่อแสวงหาข้อสรุป และแนวทางศึกษา ตลอดจนแนวทางนโยบายต่อไป วิธีการศึกษา ใช้วิธีการศึกษาด้านเอกสารและการศึกษาภาคสนาม โดยในปีแรกเน้นการศึกษาเชิงเอกสาร และมีการลงศึกษาภาคสนามในพื้นที่อย่างกว้างๆ แต่ก็ลงศึกษาพื้นที่ทั้งใกล้และไกลจากนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบและสังเกตผลกระทบในรูปแบบต่างๆ และในปีที่ 2 มีการคัดเลือกชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่ลงศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยชุมชนหนึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรม และอีกชุมชนหนึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนบางส่วนประกอบอาชีพประมง ข้อค้นพบ บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศและภูมิภาคนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการเกิดของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก กล่าวคือ ช่วงเศรษฐกิจผันผวน (2523-2528 ปี ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกไม่เอื้อต่อการเริ่มต้นโครงการประกอบกับเศรษฐกิจภายในตกต่ำ ต่อมาเงื่อนไขปัจจัยระหว่างประเทศดีขึ้นโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากการเพิ่มค่าเงินเยน ทำให้มีการย้ายโรงงาน ฯลฯ ประกอบกับกระบวนการตัดสินใจด้านนโยบายของไทยปรับปรุงให้สอดคล้องนั้น แต่อย่างไรก็ดี สภาพการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งก็เป็นปัญหาอยู่บ้าง สำหรับชุมชนเกษตรกรรมที่เลือกศึกษานั้นพบว่า ประการแรก ผลกระทบระยะแรก ได้แก่ การซื้อขายที่ดิน การเปลี่ยนมือของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีมาก แม้เป็นเขตนอกนิคมอุตสาหกรรมก็ตาม แรงกดดันที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรมเดิมจึงมีมาก ประการที่สอง ยังไม่มีแรงงานอพยพจากถิ่นอื่น มีแหล่งงานอุตสาหกรรมให้ทำในบริเวณไม่ไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านแต่เดิมอยู่ในภาคเกษตรก็จะย้ายเข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประการที่สาม แม้ว่าพื้นที่บริเวณหมู่บ้านถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียว ตามผังเมืองของจังหวัดระยองที่ผ่านมาปลูกพืชยูคาลิปตัส ป่าไม้แต่ในสภาพจริงๆ นั้นถูกทำลายหมดแล้ว และบางส่วนคาดว่าจะทำสนามกอล์ฟในอนาคต ประการที่สี่ เศรษฐกิจของหมู่บ้านที่ผ่านมาไม่แตกต่างกันมาก เพราะอยู่ในอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ทำนา พอมีการขายที่ดินที่เคยทำการเกษตรบางส่วน และบางส่วนได้มีลูกหลานเข้าทำงานที่ในโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าที่ได้ทำในนิคมอุตสาหกรรมจะมีไม่มากก็ตาม ทำให้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคมเริ่มแตกต่างกันมากขึ้น ประการที่ห้า เริ่มมีผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นโดยผ่านผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ป่าชายเลนถูกบุกรุก น้ำเสียและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและส่งกลิ่นรุนแรง น้ำฝนไม่สามารถบริโภคได้จะเพราะคราบน้ำมันจับอยู่เต็มไปหมด ประการที่หก ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับวัดยังคงตามเดิม คือ ชาวบ้านชุมชนผูกพันในฐานะเป็นสถาบันศาสนา แต่วัดเองยังมิได้ปรับตัวทันกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนักเช่นยังเรี่ยไรเงินเพื่อก่อสร้างวัดจนเกินความจำเป็น สำหรับบ้านประมงนั้น มีผลกระทบทางสังคมดังนี้ ประการแรก การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนมือกรรมสิทธิ์ที่ดินแม้มีไม่มากแต่ก็มีมากขึ้น มีแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยวเกิดขึ้นและมีสนามกอล์ฟที่เกิดขึ้นใกล้ๆ ประการที่สอง เกิดการอพยพเข้ามาของแรงงานจากต่างถิ่น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้ามาทำงานก่อสร้างโรงแรมและคอนโดมิเนียมในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยจะอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เด็กๆ ซึ่งเป็นลูกของคนงานก่อสร้างเข้ามาเรียนในโรงเรียนวัด มีปัญหาการปรับตัวในโรงเรียน ประการที่สาม เนื่องจากมีความหลากหลายขึ้น ดังนั้นสิ่งแวดล้อมในบริเวณชุมชนเริ่มเลวลง สุขลักษณะไม่ดีโดยเฉพาะกรณีค่ายคนงานได้รับผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ ควันเขม่าสีดำกระจายทั่วท้องฟ้าบริเวณที่อาศัย เด็กเล็กๆ ได้รับผลรุนแรงมากเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ใหญ่ยังไม่มีใครแสดงอาการ น้ำฝนบริโภคไม่ได้ต้องดื่มน้ำประปา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ชายทะเลใกล้ๆ สกปรกมากขึ้นทุกวัน สารเคมีเป็นพิษก็มีในละแวกชุมชนนี้ ผลกระทบในระดับชุมชนเหล่านี้ โดยเฉพาะด้านมลภาวะปรากฏเป็นปัญหาเดือดร้อน และนับเป็นการทดสอบขีดความสามารถของกลไกและการจัดองค์กรการรองรับปัญหาได้ จุดอ่อนสำคัญได้แก่ ลักษณะกลไกที่เป็นภาพรวม และยังเป็นโครงสร้างที่รวมศูนย์อยู่มาก มิหนำซ้ำความเชื่อมโยงกับกลไกของชุมชนและท้องถิ่น ปัญหาที่เป็นผลกระทบสืบเนื่องจากโครงการทั้งที่คาดหมายไว้และที่เกิดขึ้นจริงจึงมิได้มีการจัดการได้ดีเท่าที่ควร ในข้อเสนอแนะทางนโยบายและการศึกษาต่อไปนั้น ประการแรก มิติทางสังคมของนโยบายอุตสาหกรรมมีความสำคัญยิ่ง แม้จะมีการเตรียมการมาบ้างและอาจดีกว่าในกรณีที่มีนิคมอุตสาหกรรมภาคเอกชน แต่ยังขาดความใส่ใจจริงจังและขาดการประสานงาน ประการที่สอง การติดตามแก้ไขปัญหาผลกระทบสืบเนื่องยังไม่เข้มแข็ง ประการที่สาม การปรับปรุงองค์การและกลไกรองรับปัญหายังจำเป็นต้องเน้น โดยเฉพาะกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ส่วนการศึกษาวิจัยในอนาคตน่าจะสนใจเชื่อมโยงการศึกษาที่มีฐานอยู่ในชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปกับการศึกษาเชิงนโยบายให้มากขึ้น This two-year research project aims at studying the impacts of the ESB industrialization project on the local communities by focusing on industrialization as a local process in the context of national and international dynamics, on the social and environmental impacts on the communities, and on the policy recommendations. The methods of study of the first year are documentary and broad field surveys in the areas around and further from the industrial estates. In the second year, indepth study and surveys are used for 2 selected communities, one agricultural the other fishery. As for the findings, the regional and international political economic dynamics have borne much for the start of the ESB project, international and domestic recession have caused delays, while the changes in East Asian economics, particularly after the yen appreciation and a more consistent policy of the government have produced positive results. As for the community survey the first agricultural community, firstly, in the earlier phase, land transfers and the related market situation have meant high pressures on agricultural occupations. Secondly, the local farming communities, rather than migration have supplied industrial workers. Thirdly, the designated "greenbelt areas" had already been transformed. Fourthly, differences in industrial jobs opportunities among agricultural households appear to create widened income gaps. Fifthly, there are increasing environmental impacts, and, sixthly, the relationship between the villagers and the local temple has been more or less stable. For the second case study, the fishing community, firstly, there were similar pressures on agriculture due to land transfers. Secondly, there are thousands of in-migrant workers from the North East mainly living in construction sites. Their children and the local schools need much adaptation to one another. Thirdly, community living environments worsened due to lack of sanitation, and especially there are health complaints due to air and water pollution. Among all these community level impacts, the environmental issues have been serious. The local-level structures and institutions, both at the community and the provincial offices, have not been able to respond adequately to the problems incurred in the industrialization process. The ESB related organizational framework to monitor the impacts appear to be too much aloof and too clumsy to tackle the problems due to the impacts. As for policy recommendations, firstly, although social impacts were partially foreseen, but the reality of implementation need much more policy priorities. Secondly, the monitoring framework and organizations are in need of capacity strengthening. And, thirdly, the participation process of the channels for local communities and their member need urgent policy attention. Further study needs to be conscious in linking more community-based efforts with policy process. กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช 2006-07-08T07:39:01Z 2006-07-08T07:39:01Z 2543 Technical Report http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/696 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 24182956 bytes application/pdf application/pdf ไทย (ภาคตะวันออก) ระยอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย