สถานภาพและสภาพการสอนของอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลในด้านสถานภาพและสภาพการสอนภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย เกี่ยวกับวิธีการสอนสื่อการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสระดับอุ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: เริงรัชนี นิ่มนวล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7052
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลในด้านสถานภาพและสภาพการสอนภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย เกี่ยวกับวิธีการสอนสื่อการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธเภาพดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ฉบับ รวม 3 ตอน เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สภาพการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส และปัญหาในการสอนภาษาฝรั่งเศสและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อใช้กับประชากรซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนภาษาฝรั่งเศสทุกคนในคณะต่างๆ รวม 13 คณะ เป็นจำนวน 110 ฉบับ ได้กลับคืนมา 83 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75.45 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าร้อยละแล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยสรุปได้ว่าอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นหญิงมากกว่าชาย มีอายุระหว่าง 36-45 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นจำนวนใกล้เคียงหัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีสอนสัปดาห์และ 7-9 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการสอนมาแล้วเป็นเวลา 16 ปีขึ้นไป นอกจากงานการสอนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการภายในคณะ ที่ปรึกษาชมรมภาษาฝรั่งเศส วิทยากรในสถาบันอื่น และยังมีผลงานออกเผยแพร่ในรูปของบทความและตำรา ในด้านสภาพการสอน พบว่าอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน และใช้สื่อการสอนประเภทเอกสารจริงที่เป็นสิ่งตีพิมพ์ซึ่งรวบรวมขึ้นเอง สิ่งที่เน้นที่สุดในข้อทดสอบข้อเขียนคือการใช้ความคิดพิจารณาหาเหตุผล ในด้านปัญหาในการสอนและวิธีการแก้ปัญหาพบว่ามีปัญหาในการสอนวิชาที่เป็นทักษะอยู่ในระดับปานกลาง และในวิชาที่เป็นเนื้อหาอยู่ในระดับน้อย ส่วนวิธีการแก้ปัญหาที่ปฏิบัติมากที่สุดคือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง