การพัฒนากระบวนการสอนอ่านโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่าน เพื่อพัฒนาวุฒิภาวะทางการอ่านของนักเรียนประถมศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาชีพครูของนิสิตปริญญาโท สาขาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย
ความเป็นมาของการวิจัย ในปัจจุบันนี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของครูคือยังไม่ได้มีการเน้นความสามารถในการปรับปรุงความรู้ด้านศาสตร์การสอน ทักษะการสอน ความรับผิดชอบของครูในการสร้างความรู้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งของนักเรียนและของตัวผู้สอนเอง การฝึกหัดครูที่กำลังเป็นอยู่ก็คือก...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7099 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ความเป็นมาของการวิจัย ในปัจจุบันนี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของครูคือยังไม่ได้มีการเน้นความสามารถในการปรับปรุงความรู้ด้านศาสตร์การสอน ทักษะการสอน ความรับผิดชอบของครูในการสร้างความรู้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งของนักเรียนและของตัวผู้สอนเอง การฝึกหัดครูที่กำลังเป็นอยู่ก็คือการให้ความรู้พื้นฐานทางวิชาการและการสอนตลอดจนการจัดประสบการณ์ด้านการสอนเพื่อให้นิสิตฝึกหัดครูสามารถปฏิบัติภาระงานครูที่กระทำต่อเนื่องกันมาได้อย่างราบรื่นเท่านั้น สภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนในสถาบันฝึกหัดครูที่จัดให้นิสิตเรียนทฤษฎีการสอนและหลักการทางการศึกษาในชั้นเรียน การจัดให้นิสิตฝึกประสบการณ์ในฐานะผู้สังเกตการสอนและฝึกปฏิบัติงานสอนของครูผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีโอกาสได้บันทึกรายละเอียดของประสบการณ์ตรงนั้นลงในพอร์ทโฟลิโอและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประเมินความรู้ที่ได้และสังเคราะห์ทั้งความรู้และประสบการณ์นั้นด้วยตัวเองหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ตรงที่ได้กับเพื่อนนิสิตในฐานะครูด้วยกันทำให้นิสิตขาดโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพครูของตนเองอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้การสอนอ่านหนังสือในระดับประถมศึกษามุ่งเน้นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้จากหนังสือเรียนและหนังสือที่ครูคัดเลือกให้อ่านเป็นหลัก ซึ่งทำให้การอ่านเป็นเรื่องภาวะจำยอมของนักเรียนและเบี่ยงเบนจุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านไปนั้นคือการอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อพัฒนาวุฒิภาวะทางความคิดทางความรู้ตามความสนใจและเพื่อสนองตอบอารมณ์สุนทรียะของนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาได้รู้จักหนังสืออ่านนอกจากหนังสือเรียนอย่างหลากหลายประเภท สามารถเลือกอ่านหนังสือได้ตามความสนใจและสนองตอบอารมณ์ในวาระต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อพัฒนากระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านสำหรับให้นิสิตปริญญาโทสาขาการประถมศึกษาใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2. เพื่อศึกษาวุฒิภาวะทางการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านหนังสือประเภทต่างๆ 3. เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านหนังสือสำหรับเด็กประเภทต่างๆ ที่มีต่อนิสิตปริญญาโทสาขาประถมศึกษาภาคต้น ปีการศึกษา 2540 ในด้านพัฒนาการทางวิชาชีพครู 4. เพื่อตอบคำถามเชิงวิเคราะห์เพื่อหาความกระจ่างเกี่ยวกับพัฒนาการทางวิชาชีพครูในด้านพฤติกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นกับความเกี่ยวข้องกับคุณภาพของการศึกษาในโรงเรียน และคุณภาพของการจัดการศึกษาในสถาบันฝึกหัดครู คำถามในการวิจัย 1. นิสิตปริญญาโทในการวิจัยสามารถระบุชื่อวีสอนอ่านที่ใช้อยู่ได้หรือไม่ บอกจุดเด่นและด้อยของวิธีสอนนั้นได้หรือไม่ เพียงไร กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอทำให้ความสามารถดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร 2. หลังจากที่นิสิตฯ ใช้กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอแล้วสามารถสร้างวิธีการสอนอ่านใหม่ๆ ได้หรือไม่ สร้างอย่างไร สามารถบอกเหตุผลประกอบการสร้างได้หรือไม่เพียงไร และการใช้กระบวนการสอนนี้ทำให้นิสิตฯ เรียนรู้เกี่ยวกับนักเรียนได้มากน้อยเพียงไร ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร 3. เมื่อมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการสอนแล้วแนวคิดและปรัชญาทางการศึกษาและการเรียนการสอนของนิสิตฯ เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เพียงไร 4. ลักษณะและวิธีการตอบคำถามของนักเรียนหลังการอ่านหนังสือมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร มีความตอบคำถามในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์หรือแสดงความเข้าใจในเชิงลึกมากขึ้นหรือไม่ ต่างจากการตอบคำถามเพื่อแสดงความระลึกเนื้อหาได้หรือไม่ อย่างไร 5. พัฒนาการทางวิชาชีพครูในด้านพฤติกรรมการสอนของครูมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับคุณภาพของนักเรียน และสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและสภาพของการจัดการศึกษาในสถาบันฝึกหัดครูอย่างไร ตัวอย่างประชากร ตัวอย่างประชากรกลุ่มแรกเป็นนิสิตปริญญาโทปีที่หนึ่งและสองของภาควิชาประถมศึกษาปีที่ห้าจำนวน 22 คนจากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตปทุมวันจำนวน 3 โรง ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือพอร์ทโฟลิโอสำหรับครูที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึกรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญสามส่วนคือส่วนที่หนึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของนิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรซึ่งรวมถึงการเตรียมการสอน รายละเอียดการสอน-ผลที่เกิดจากการสอน (พค.2, พค.2 แนวปป1, พค.2 แนวปป2, พค.3น1, พค.3น2, พค.3น3) ส่วนที่สองเป็นการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นฐานทางสังคมและพื้นฐานการอ่านของนักเรียน (พค1, พค1/2) ส่วนที่สามเป็นการบันทึกการสนทนาอภิปรายระหว่างนิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรกับอาจารย์ผู้ควบคุมเกี่ยวกับข้อค้นพบเรื่องผลการสอน ปัญหาและการแก้ปัญหาการเรียนการสอน (พค.4) แบบสอบถามแนวคิดและปรัชญาการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมแบบไม่เป็นทางการด้านการจัดการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละและมัชฌิมเลขคณิต ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงศึกษาวิเคราะห์ภายใต้กรอบทฤษฎีการศึกษา กรอบแนวการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางการศึกษา แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรฝึกหัดครูรูปแบบต่างๆ และทฤษฎีความขัดแย้ง ผลการวิจัย 1. กระบวนการสอนโดยใช้พอร์ทโฟลิโอการสอนอ่านที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้นคือ ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียน ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนโดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ขั้นเลือกวิธีสอนและสร้างแผนการสอน ขั้นบันทึกข้อมูลลงในส่วนที่หนึ่งและสองของพอร์ทโฟลิโอ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลในพอร์ทโฟลิโอ และขั้นสนทนาอภิปรายกับอาจารย์ผู้ควบคุมและบันทึกข้อมูลลงในพอร์ทโฟลิโอส่วนที่สาม 2. นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรในการวิจัยปรากฏวุฒิภาวะทางการอ่านมากขึ้นกล่าวคือเมื่อนักเรียนได้รับการสอนตามกระบวนการสอนที่สร้างขึ้นครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถอ่านหนังสือได้มากเล่มขึ้นในแต่ละครั้งการสอนคือเฉลี่ยได้ครั้งละ 15.66 เล่มในขณะที่ก่อนการสอนครบตามกระบวนการสอนทั้งหกขั้นอ่านได้เฉลี่ยครั้งละ 13.33 เล่ม และพบว่านักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรสามารถอ่านหนังสือประเภทสารคดี ประเภทนิทานท้องถิ่น ประเภทเรื่องสั้น ประเภทกวีนิพนธ์และประเภทปรัชญาและศาสนามากเล่มขึ้นหลังจากที่ได้รับการสอนครบตามกระบวนการสอนทั้งหกขั้น มีเพียงนิทานวรรณคดีเท่านั้นที่อ่านได้น้อยเล่มลง 3. นิสิตฯ ที่เป็นตัวอย่างประชากรในการวิจัยปรากฏพัฒนาการทางวิชาชีพครูตามที่กำหนดไว้ในการวิจัย กล่าวคือเมื่อนิสิตฯ ใช้กระบวนการสอนที่สร้างขึ้นจนครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถระบุวิธีสอนที่ใช้ได้มากขึ้นคือระบุได้ร้อยละ 83.83 ในขณะที่ก่อนการใช้กระบวนการสอนทั้งหกขั้นสามารถระบุได้ร้อยละ 22.7 สามารถสร้างวีการสอนใหม่ขึ้นได้มากขึ้นคือหลังจากใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วสามารถสร้างวิธีการสอนใหม่ได้ร้อยละ 44.94 ในขณะที่ก่อนใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นสร้างได้ร้อยละ 4.5 4. นิสิตฯ สามารถระบุชื่อวิธีสอนได้มากขึ้นหลังจากที่ใช้กระบวนการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วโดยสามารถบอกจุดเด่นและด้อยของวิธีสอนที่ใช้ได้ด้วย 5. นิสิตสามารถสร้างวิธีสอนอ่านแบบใหม่ขึ้นได้โดยลักษณะการสร้างมีทั้งที่ประยุกต์วิธีสอนแบบเติมให้เหมาะสมกับผู้เรียนหรือแก้ไขจุดบกพร่องของวิธีสอนแบบเดิมและวิธีการสร้างโดยผสมผสานวิธีสอนแบบเดิมเข้าด้วยกันพร้อมทั้งสามารถระบุเหตุผลของการผสมผสานด้วย 6. แนวคิดด้านปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการเรียนการสอนของนิสิตฯ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก 7. การตอบคำถามเนื้อหาในหนังสือของนักเรียนหลังได้รับการสอนครบทั้งหกขั้นแล้วมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีการสอดแทรกการวิเคราะห์ วิจารณ์และการคาดเดาเหตุการณ์ที่ไม่ได้มีระบุไว้ในเนื้อเรื่องมากขึ้น นักเรียนสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตัวผู้เขียนได้ด้วย |
---|