รูปแบบการวางแผนครอบครัวเพื่อควบคุมโรคธาลัสซีเมียและพาหะ : รายงานผลการวิจัย
วัตถุประสงค์ ศึกษารูปแบบการวางแผนครอบครัวเพื่อคุมกำเนิดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อลดอัตราเกิดของผู้เป็นพาหะ และโรคธาลัสซีเมีย สถานที่ที่ทำการศึกษา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 4 ราชบุรี สถานีอนามัย 35 แห่ง ในกิ่ง อ.บ้านคา อ.สวนผึ้ง อ.เมือง และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ได...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7287 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ ศึกษารูปแบบการวางแผนครอบครัวเพื่อคุมกำเนิดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อลดอัตราเกิดของผู้เป็นพาหะ และโรคธาลัสซีเมีย สถานที่ที่ทำการศึกษา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 4 ราชบุรี สถานีอนามัย 35 แห่ง ในกิ่ง อ.บ้านคา อ.สวนผึ้ง อ.เมือง และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ได้ทำการศึกษา อาสาสมัครหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ ที่เป็นญาติพี่น้องของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งยังต้องการมีบุตร จำนวน 488 คน รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิธีการศึกษา ทำการศึกษาที่ 35 สถานีอนามัย จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีอุบัติการณ์ของธาลัสซีเมียสูง ให้ความรู้และให้การศึกษาด้านสุขภาพกับประชาชน โดยเฉพาะเครือญาติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ซึ่งง่ายต่อการสร้างความตระหนัก ให้การปรึกษาถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และตรวจคัดกรองเลือดด้วยความสมัครใจ (OF และ DCIP) หลังการตรวจเลือด ให้บริการวางแผนครอบครัว ตามความเหมาะสม และด้วยความสมัครใจ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลแม่และเด็ก เพื่อตรวจละเอียดหาชนิดของฮีโมโกลบินด้วยวิธี HPLC (High Performance Liquid Chromatography) และการวิเคราะห์ด้วย PCR (Polymerase Chain Reaction) ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่ให้ผลเลือดบวกและต้องการที่จะมีบุตร ผลการศึกษา อาสาสมัครวัยเจริญพันธุ์ทั้งชายและหญิงจำนวน 488 คน ได้เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ภายหลังการให้ความรู้และให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ อาสาสมัครได้ยินยอมให้ตรวจเลือด พบว่า 312 คน (ร้อยละ 64) ให้ผลตรวจคัดกรองเป็นบวก การตรวจคัดกรองเลือดสามารถทำได้โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยซึ่งมีพื้นฐานการทำงานด้านป้องปฏิบัติการเพียงเล็กน้อยหลังผ่านการฝึกปฏิบัติเพียงครึ่งวัน และการให้การปรึกษาด้วยวิธีสำเร็จรูป ก็สามารถทำได้เช่นกัน เมื่อได้รับคำแนะนำเพียงสั้นๆ ผู้รับบริการพอใจการให้บริการนี้ พบว่าร้อยละ 94 เข้าใจง่ายหรือพอเข้าใจการให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ และร้อยละ 91 สามารถที่จะอธิบายต่อให้ผู้อื่นได้อย่างแน่นอนหรือพอได้ สำหรับผู้ให้บริการ พบว่ารูปแบบการให้บริการนี้ง่ายสามารถนำมาทำร่วมกับงานประจำที่ทำอยู่แล้ว และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ การตรวจเลือดเพื่อคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยวิธี OF และ DCIP ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ (IHR) ได้พัฒนา และให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยดำเนินการตรวจเลือดเอง ผลที่ตรวจมีความเชื่อถือได้สูงเกินร้อยละ 70 สรุป รูปแบบการควบคุมโรคธาลัสซีเมียที่ครบวงจรประกอบด้วย 1) การเผยแพร่ความรู้เรื่องธาลัสซีเมีย 2) ศึกษาในกลุ่มญาติพี่น้องของผู้ป่วย 3) ให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ พร้อมกับให้ความรู้ด้านสุขภาพ 4) ตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ 5) ให้การปรึกษาอย่างเหมาะสม และบริการวางแผนครอบครัว 6) การรู้จักวางระบบการส่งต่อ |
---|