ความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่องที่อ่านและข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนกับสัมฤทธิ์ผลในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจหัวเรื่องที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 มีความสนใจต้องการอ่านในวิชาภาษาอังกฤาและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องนิสิตต้องการอ่าน (เรื่องทั่วไปและเรื่องเฉพาะสาขาวิชา) และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน (คณะ เพศ และจำนวนปีที่เรียนภาษาอังกฤษ) กับความสามารถในการเร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กาญจนา ปราบพาล, กุลยา คัมภิรานนท์, บุญศิริ อนันตเศรษฐ์, ภัสสร สิงคาลวณิช, ศิริพร พงษ์สุรพิพัฒน์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/762
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจหัวเรื่องที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 มีความสนใจต้องการอ่านในวิชาภาษาอังกฤาและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องนิสิตต้องการอ่าน (เรื่องทั่วไปและเรื่องเฉพาะสาขาวิชา) และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน (คณะ เพศ และจำนวนปีที่เรียนภาษาอังกฤษ) กับความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิต (คะแนนการอ่านและคะแนนการฟัง-การพูด) กลุ่มประชากรคือนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่สุ่มมาจาก 14 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 834 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวเรื่องที่นิสิตสนในอ่านแบบ rating scales การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ปรากฏว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชื่อถือได้ การสำรวจหัวเรื่องที่นิสิตสนใจอ่านปรากฏว่านิสิตทั้ง 14 คณะสนใจอ่านเรื่องการท่องเที่ยว นิทานเรื่องสั้นและการ์ตูน สิ่งมหัศจรรย์และขนบธรรมเนียมแปลก ๆ และเหตุการณ์สำคัญในโลกปัจจุบัน และมีบางหัวเรื่องที่เป็นที่สนใจสำหรับนิสิตเฉพาะกลุ่ม เช่นกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และกลุ่มคณะสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่องที่นิสิตสนใจอ่านและข้อมูลเกียวกับตัวนิสิตกับสัมฤทธิผลการเรียนภาษาอังกฤษปรากฏว่าความสัมพันธ์ในเชิงทำนายของเรื่องทั่วไป เรื่องเฉพาะสาขาวิชา เพศ และจำนวนปีที่เรียนภาษาอังกฤษกับความสามารถในการอ่านและการฟัง-การพูดแตกต่างกันไปแล้วแต่คณะ เปอร์เซ็นต์ที่ตัวแปรดังกล่าวอธิบายความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ระหว่าง 1% ถึง 33%