คุณภาพและประสิทธิภาพของการทดสอบปรับเปลี่ยนโยงเนื้อหาโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของแบบทดสอบอิงปริเขต : รายงานการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อจัดสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทดสอบปรับเปลี่ยนโยงเนื้อหาได้ และเพื่อศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของการทดสอบดังกล่าว กลุ่มพลวิจัย ได้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาาลัย ทีกำลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน II ปี 2533 จำนวน 360 คน จา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุพัฒน์ สุกมลสันต์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/776
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อจัดสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทดสอบปรับเปลี่ยนโยงเนื้อหาได้ และเพื่อศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของการทดสอบดังกล่าว กลุ่มพลวิจัย ได้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาาลัย ทีกำลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน II ปี 2533 จำนวน 360 คน จาก 2,404 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน กลุ่มละ 180 คน ให้กลุ่มที่ 1 สอบแบบทดสอบอิงปริเขตซึ่งมีอยู่ 105 ข้อ โดยวิธีประเพณีนิยม อและอีกกลุ่มหนึ่งทดสอบโดยวิธีปรับเปลี่ยนโยงเนื้อหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเนื้อหา 5 ปริเขต ๆ ละ 21 ข้อ และสร้างเป็นแบบปิรามิด 5 ชั้น แล้วจึงนำผลการทดสอบหลาย ๆด้านมาเปรียบเทียบกัน โดย z-test และ t-test ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมที่จัดสร้างขึ้นทำงานได้ดีเป็นที่น่าพอใจ และการทดสอบปรับเปลี่ยนโยงเนื้อหามีคุณภาพและประสิทธิภาพดีกว่าการทดสอบโดยวิธีประเพณีนิยม กล่าวคือ มีความตรงเชิงพยากรณ์สูงกว่า มีความเชื่อถือได้ไม่ต่างกัน ใช้ข้อทดสอบน้อยกว่าร้อยละ 50 มีความคลาดเคลื่อนในการวัดน้อยกว่า ใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่าประมาณ 3 เท่า และทำให้ผู้สอบมีเจตคติในการสอบดีกว่า