การหาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ในการสั่งซื้อกับเส้นโค้งการเรียนรู้ของผู้ส่งมอบ : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทีใช้ในการคัดเลือดผู้ส่งมอบ และแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบขององค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยนำเอาความสามารถในการเรียนรู้ของผู้สงมอบเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม การพัฒนาจะมีพื้นฐานมาจากผลการสำรวจความคิดเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปารเมศ ชุติมา, พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7838
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทีใช้ในการคัดเลือดผู้ส่งมอบ และแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบขององค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยนำเอาความสามารถในการเรียนรู้ของผู้สงมอบเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม การพัฒนาจะมีพื้นฐานมาจากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อของบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นผู้ประกอบยานยนต์ในขั้นตอนสุดท้ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผ่านวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตามเค้าโครงของแบบสอบถาม โดยมีประเด็นหลักที่ทำการศึกษาอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) เพื่อระบุเกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญทีใช้ในการคัดเลือกผู้ส่งมอบที่เหมาะสม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ในการสั่งซื้อและการจัดซื้อ และระบุถึงกลยุทธ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสั่งซื้อและการจัดซื้อ และ (3) เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อระดับการเรียนรู้ของผู้ส่งมอบ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางสถิติ เพื่อนำไปใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และประยุกต์ใช้เจนเนติกอัลกอริทึมแบบหลายวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการตัดสินใจประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายรวม อัตราส่วนของเสีย และเปอร์เซ็นต์การส่งมอบที่ตรงเวลา สมการการเรียนรู้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอ้างอิงค่าของอิทธิพล อันประกอบด้วย (1) ความพร้อมของผู้ส่งมองแต่ละราย (2) ระยะเวลาของสัญญา และ (3) กลยุทธ์ผู้ส่งมอบแบบรายเดียวและแบบหลายราย นอกจากนี้วิธีการที่ได้พัฒนาขึ้นมาจะถูกนำวิเคราะห์ความไว ซึ่งพบว่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกผู้ส่งมอบ และระดับการเรียนรู้ของผู้ส่งมอบมีผลต่อคำตอบที่ได้ และพบว่าถ้าหากผู้ส่งมอบมีความสามารถในการปรับตัวหรือมีระดับการเรียนรู้สูงกว่าผู้ส่งมอบรายอื่น ถึงแม้จะมีคุณสมบัติบางประการที่ด้อยกว่าผู้ส่งมอบรายอื่น แต่ในระยะยาวผู้ส่งมอบรายนั้นก็มีโอกาสที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาคุณสมบัติดังกล่าวให้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าผู้ส่งมอบรายอื่นได้ ทำให้ได้รับการคัดเลือกจากผู้ซื้อ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการวิจัยต่อไปในอนาคตด้วยเช่นกัน