การประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ภาระงานพยาบาล : รายงาน
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะแก่การป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และประมวลผลเป็นสารสนเทศด้านภาระงานพยาบาลโดยตรงที่บุคลากรพยาบาลให้กับผู้ป่วยและสารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยได้รับ โดยกระบวนการพัฒนาแบ่งเป็นกระบวนการพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล และกระบวนการพัฒนาโปรแ...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7922 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะแก่การป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และประมวลผลเป็นสารสนเทศด้านภาระงานพยาบาลโดยตรงที่บุคลากรพยาบาลให้กับผู้ป่วยและสารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยได้รับ โดยกระบวนการพัฒนาแบ่งเป็นกระบวนการพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล และกระบวนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนในทั้ง 2 กระบวนการประกอบด้วยการออกแบบทดลองใช้ และประเมินผลการทดลองใช้ แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบบันทึกที่ใช้เขียนลงบนแบบสำหรับกรอกข้อมูลที่ติดไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายตั้งแต่เริ่มรับใหม่ ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วย กิจกรรมการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ วัน-เวลา ที่ได้รับ และรหัสประจำตัวผู้ให้การพยาบาล โดยให้พยาบาลผู้ปฏิบัติเป็นผู้กรอกข้อมูลทันทีที่ปฏิบัติเสร็จ เมื่อจำหน่วยผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล จึงมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นชื่อ CU-NURSE เป็นโปรแกรมที่ใช้บน Microsoft Access 95 ส่วนของการป้อนข้อมูลนำเข้ามีลักษณะเป็นแบบกระดาษทำการที่ออกแบบให้ป้อนข้อมูลลงในส่วนที่กำหนด การค้นหาสารสนเทศที่ต้องการใช้ วิธีพิมพ์ข้อความหรือรหัส ร่วมกับการใช้ menu-driven กลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้แบบบันทึกเป็นพยาบาลประจำการจำนวน 14 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกในโรงพยาบาลระดับศูนย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภายหลังการทดลองใช้เป็นเวลา 1 เดือน ได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อแบบบันทึก พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยใช้แบบบันทึกกับผู้ป่วยมาแล้วโดยเฉลี่ย 36 ราย และส่วนใหญ่เป็นพยาบาลผู้มีความรู้ระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยในระดับสูงในประเด็นที่ว่าด้วยรูปแบบและวิธีการบันทึก แต่มีความเห็นด้วยกับการเลือกใช้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้นมากกว่าความเห็นด้วยกับการที่จะใช้กับผู้ป่วยทุกราย กลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นผู้บริหารทางการพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐและเอกช 8 แห่ง รวม 54 คน ภายหลังการทดลองใช้แล้วได้ตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 52 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.3 กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าสารสนเทศที่ได้จากโปรแกรมทุกรายการมีประโยชน์ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนความคิดเห็นต่อคุณสมบัติด้านการใช้การได้ของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะประโยชน์ต่อการบริหารการพยาบาล การทดลองใช้แบบบันทึกและการทดลองใช้โปรแกรมดำเนินการเป็นอิสระจากกันจึงอาจไม่พบปัญหาหรือข้อจำกัดที่อาจมี ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการทดลองใช้ทั้งระบบ พร้อมทั้งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำมาเป็นแนวทางป้องกันปัญหาต่อไป และเสนอให้ขยายขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาด้วย |
---|