สภาพปัญหาสารเสพติดในกิจการไร่อ้อย : รายงานการศึกษา

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ให้ดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาสารเสพติดในกิจการไร่อ้อย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการใช้สารเสพติด พฤติกรรมการใช้สารเสพติด ตลอดจนความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับสารเสพติดในกลุ่มคนงานที่มาทำงา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา, สุทธิจิตต์ จินตยานนท์, รัตนา จารุเบญจ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/797
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ให้ดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาสารเสพติดในกิจการไร่อ้อย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการใช้สารเสพติด พฤติกรรมการใช้สารเสพติด ตลอดจนความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับสารเสพติดในกลุ่มคนงานที่มาทำงานในไร่อ้อยเป็นการชั่วคราว การศึกษาดำเนินในพื้นที่ 5 จังหวัดที่มีการปลูกอ้อยมากที่สุดคือ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คนงานชั่วคราวที่อพยพเข้ามาทำงานในพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัดซึ่งส่วนมากเป็นคนมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีการใช้สารเสพติดหลายชนิด ที่ใช้มากคือ บุหรี่ สุรา ยาแก้ปวด และเครื่องดื่มชูกำลัง ส่วน "ยาบ้า" พบว่ามีคนงานไร่อ้อยเพียงร้อยละ 12 ของจำนวนตัวอย่างที่ใช้ การใช้สารเสพติดในกลุ่มคนงานเหล่านี้ไม่น่าวิตกว่าจะก่อให้เกิดปัญหา ถึงแม้จะมีการสูบบุหรี่จัดมาก แต่ในการดื่มสุราปรากฎว่าเป็นการดื่มเพื่อให้เจริญอาหารมากกว่าดื่มจนเมาหมดสติหรือแม้แต่การใช้ยาแก้ปวด เครื่องดื่มชูกำลัง ก็มีการหยุดใช้เมื่อมาทำงานในไร่อ้อย มีเพียงการใช้ "ยาม้า" เท่านั้นที่พบว่าผู้ใช้นั้นมีเจตนาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องใช้พละกำลังและต้องใช้เวลานานเช่นพวกที่ขนอ้อยขึ้นรถ พวกที่ทำงานขับรถบรรทุก และพวกที่ทำงานเหมา (ทั้งตัดและขนอ้อย) อย่างไรก็ตามคนงานไร่อ้อยเหล่านี้ต่างรู้ถึงโทษภัยของสารเสพติดเหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่ที่ต้องใช้สารเหล่านั้นเพราะต้องการทำงานให้มากขึ้น ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นนั้นเอง