การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา บุคลิกภาพประชาธิปไตย และทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ แบบการใช้การวิจัยเป็นฐานและแบบปกติ : รายงานการวิจัย

รายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ(2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สมนึก ปฏิปทานนท์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2008
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8480
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:รายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ(2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ (3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอบแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 115 คน โดยใช้แผนการสอน 3 แบบ คือ แผนการสอนการเรียนแบบสตอรี่ไลน์ จำนวน 9 แผน แผนการสอนการเรียนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 10 แผน และแผนการสอนการเรียนแบบปกติจำนวน 12 แผน ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพประชาธิปไตย ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการกลุ่ม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.40 และแบบประเมินการปฏิบัติงานในวิชาสังคมศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.58 นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต ( x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( one way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม (MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมตัวแปรพหุนาม ( MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุม่ ที่เรียนแบบปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนเฉลี่ยบุคลิกภาพ ประชาธิปไตยที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ย บุคลิกภาพประชาธิปไตยที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนเฉลี่ยทักษะ กระบวนการกลุ่มที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้วิจัยเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะ กระบวนการกลุ่มที่ปรับแก้ด้วยตัวแปรร่วมไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05