การวิจัยและพัฒนาขั้นต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นถึงขนาดตลาดในบ่อดินสำหรับการประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์มเลี้ยงหอยหวานบนบกเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย : รายงานวิจัย
ได้ศึกษาหาอัตราการปล่อยที่เหมาะสมของการเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นแบบชนิดเดียวและแบบเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นร่วมกับสัตว์น้ำชนิดอื่นในบ่อดินขนาดการทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของอัตราการปล่อยหอยหวาน 5 ระดับ (100, 200, 300, 400 และ 500 ตัวต่อตารางเมตร) ต่อการเจริญและการตายของหอยหวานในการเลี้ยงหอยหวานแบ...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2009
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8696 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ได้ศึกษาหาอัตราการปล่อยที่เหมาะสมของการเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นแบบชนิดเดียวและแบบเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นร่วมกับสัตว์น้ำชนิดอื่นในบ่อดินขนาดการทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของอัตราการปล่อยหอยหวาน 5 ระดับ (100, 200, 300, 400 และ 500 ตัวต่อตารางเมตร) ต่อการเจริญและการตายของหอยหวานในการเลี้ยงหอยหวานแบบชนิดเดียวสำหรับการทดลองที่ 2 ได้ศึกษาผลของอัตราการปล่อยของปลากะพงขาว (Lates calcarifer) หรือกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) หรือกุ้งขาววานาไม (Litopenaeus vanamei) 4 ระดับ (3, 5, 7 และ 10 ตัวต่อตารางเมตร) และอัตราการปล่อยหอยหวานที่ 300 ตัวต่อตารางเมตรต่อการเจริญและการตายของหอยหวานในการเลี้ยงหอยหวานร่วมกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ผลการศึกษาพบว่า อัตราการปล่อยหอยหวานที่เหมาะสมของการเลี้ยงหอยหวานแบบชนิดเดียวในบ่อดินคือ 300 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับการเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นร่วมกับปลากะพงขาว หรือกุ้งกุลาดำ หรือกุ้งขาววานาไมในบ่อดิน พบว่า อัตราการปล่อยของปลากะพงขาว กุ้งกุลาดำ และกุ้งขาววานาไมที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 3 ตัวต่อตารางเมตร และใช้อัตราการปล่อยหอยหวาน 300 ตัวต่อตารางเมตรซึ่งจะไม่มีผลต่อการเจริญและการตายของหอยหวาน |
---|