การลดซีโอดีและสีของน้ำกากส่าโดยใช้กากตะกอนระบบผลิตน้ำประปาเถ้าลอยแอสฟัลท์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ : รายงานวิจัย

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถของกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ในการลดซีโอดีและสีในน้ำกากส่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารส้มและปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์โดยใช้ จาร์เทสต์ และศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำกากส่าเมื่อใช้กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ร่วมกับการออกซิเดชันด้วยไฮ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธเรศ ศรีสถิตย์, ปภาวดี โชคสุวรรณกิจ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2009
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8700
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถของกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ในการลดซีโอดีและสีในน้ำกากส่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารส้มและปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์โดยใช้ จาร์เทสต์ และศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำกากส่าเมื่อใช้กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ร่วมกับการออกซิเดชันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยเปรียบเทียบกับสารส้มและปูนขาว การทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมใช้วิธีทดสอบของดันแคน (Duncan’s new multiple range test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาความสามารถของกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ในการเป็นโคแอกกูแลนต์เพื่อลดซีโอดีและสีในน้ำกากส่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารส้มและปูนขาว พบว่าร้อยละการบำบัดซีโอดีจากการตกตะกอนที่สภาวะเหมาะสมด้วยปูนขาวจะมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา สารส้ม และเถ้าลอยแอสฟัลท์ ซึ่งมีค่าเป็น 40.20, 30.77, 22.88 และ13.51% ตามลำดับ ส่วนร้อยละการบำบัดความเข้มสีจากการตกตะกอนด้วยปูนขาวจะมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ สารส้ม กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา และเถ้าลอยแอสฟัลท์ ซึ่งมีค่าเป็น 37.76, 26.32, 23.50 และ -15.71% ตามลำดับ ต่อมาเมื่อทำการออกซิไดซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่า ร้อยละการบำบัดซีโอดีจากการตกตะกอนด้วยกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาจะมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ สารส้มเถ้าลอยแอสฟัลท์และปูนขาว ซึ่งมีค่าเป็น 51.92, 42.24, 26.87 และ 24.31% ตามลำดับ ส่วนร้อยละการบำบัดความเข้มสีจากการตกตะกอนด้วยเถ้าลอยแอสฟัลท์จะมีค่าสูงสุด รองลงมาคือกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา สารส้มและปูนขาว ซึ่งมีค่าการบำบัดเป็น 54.92, 14.85, 11.92 และ 3.20% ตามลำดับโดยค่าพีเอชในน้ำสุดท้ายมีค่าเป็น 2.86, 2.82, 3.23 และ 7.71 ตามลำดับเมื่อพิจารณาทั้งกระบวนการบำบัด พบว่า กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาสามารถบำบัดน้ำกากส่าร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ให้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีรวมมากที่สุด คือ 67.26% (240 ก./ล.ของ H[subscript 2]O[subscript 2]) และปูนขาวสามารถบำบัดน้ำกากส่าร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ให้ประสิทธิภาพการบำบัดสีรวมมากที่สุด 43.83% (150 ก./ล.ของ H[subscript 2]O[subscript 2]) และเมื่อทดสอบผลของเหล็ก (FeSO[subscript 4]) เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นออกซิเดชัน พบว่า สามารถบำบัดค่าซีโอดีได้สูงกว่าการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงอย่างเดียวในโคแอกกูแลนต์ทั้ง 4 ชนิด แต่ไม่สามารถบำบัดสีได้ ทำให้การใช้กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์เป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลการทดลองที่ดี ในสภาวะที่ไม่เติมเฟอร์รัสซัลเฟต และเมื่อพิจารณาด้านเศรษฐศาสตร์จะเห็นว่าปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์ที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้บำบัดน้ำกากส่าร่วมกับการออกซิเดชันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มากที่สุด