การเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมือง ระหว่างนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในปัจจุบัน : รายงานผลการวิจัย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในปัจจุบัน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองระหว่างนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งตามตัวแปรสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ภูมิลำเนา อายุ ระดับการศึก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2009
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8892
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในปัจจุบัน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองระหว่างนักการเมืองไทยและคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งตามตัวแปรสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ภูมิลำเนา อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทางการเมือง (เฉพาะกลุ่มนักการเมือง) การเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง นักการเมือง 100 คน และคนไทย 600 คน จาก 5 ภูมิลำเนา คือ : กรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสำรวจภูมิหลัง (2) แบบวัดพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมือง (3) แบบประเมินระดับความถูกต้องของพฤติกรรม พฤติกรรมจริยธรรมประกอบด้วย 5 พฤติกรรม คือ ความซื้อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การเสียสละเพื่อส่วนรวม และความยุติธรรม ส่วนพฤติกรรมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การเลือกตั้ง การประชุมสภาฯ การรับผิดชอบในหน้าที่ทางการเมือง และการใช้อำนาจทางการเมือง ผลการวิจัย มีดังนี้ คือ 1. พฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองไทยและคนไทยมีสภาพแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกพฤติกรรม 2. นักการเมืองที่มีประสงการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน มีพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 18 พฤติกรรม จาก 20 พฤติกรรม 3. ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมจริยธรรมทางการเมืองในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม