กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี

วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สยาม สุ่มงาม
Other Authors: นิศา ชูโต
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2009
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9968
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.9968
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic ประกันคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษา
spellingShingle ประกันคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษา
สยาม สุ่มงาม
กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
author2 นิศา ชูโต
author_facet นิศา ชูโต
สยาม สุ่มงาม
format Theses and Dissertations
author สยาม สุ่มงาม
author_sort สยาม สุ่มงาม
title กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
title_short กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
title_full กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
title_fullStr กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
title_full_unstemmed กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
title_sort กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2009
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9968
_version_ 1681409393285922816
spelling th-cuir.99682009-08-12T03:41:42Z กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี Implementation process, problems and solution of the educational quality assurance : a case study of pilot school, Office of Uthaithanee Provincial Primary Education สยาม สุ่มงาม นิศา ชูโต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย ประกันคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนนำร่อง ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เป็นระยะเวลา 4 เดือน เก็บข้อมูลในสนามจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมทั้งการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี เริ่มดำเนินการปีการศึกษา 2541 ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี โดยขานรับนโยบาย 4 ประกัน มีการดำเนินงานโดยใช้กรอบซึ่งสอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 3 ขั้นตอน 1) การควบคุมคุณภาพการศึกษา 2) การตรวจสอบ และปรับปรุงโรงเรียน และ 3) การประเมินคุณภาพโรงเรียนเพื่อการให้ใบรับรองมาตรฐานการศึกษา ในฐานะจังหวัดนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี เข้าสู่ระบบประกันคุณภาพในขั้นตอน การควบคุมคุณภาพการศึกษา มีการปรับขยายเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนให้เหมาะสมกับท้องถิ่นด้วยการทำประชาพิจารณ์ (ขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น) พร้อมทั้งจัดอบรมบุคลากร จำนวน 5 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ จำนวน 50 คน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นำไปถ่ายทอด และนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด จำนวน 260 โรงเรียน ปัญหาที่พบคือ การนำความรู้ไปถ่ายทอดของศึกษานิเทศก์ให้กับผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีการผนวกในงานปกติ คือ การประชุมผู้บริหารประจำเดือน น้อยแห่งที่ใช้การฝึก อบรมพิเศษทำให้ผู้บริหารโรงเรียนบางคนได้รับความรู้ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า การนิเทศ กำกับ ติดตาม การถ่ายทอดยังไม่เป็นระบบ และยังพบว่า ทัศนคติ และพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาบางคน ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงขาดความรู้ ความตระหนักในเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งงบประมาณมิได้มีการจัดสรรให้สอดคล้องกับโครงการประกันคุณภาพการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาของจังหวัด ด้านการถ่ายทอดความรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยศึกษานิเทศก์ของจังหวัดได้ดำเนินการนิเทศด้วยการให้คำแนะนำด้านวิชาการ กระตุ้นเตือนการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ให้เร่งรีบดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการผนวกเข้ากับการประชุมผู้บริหารประจำเดือน และการให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี ด้านการขาดงบประมาณ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ได้มีนโยบายให้ดำเนินโครงการโดยใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวยังไม่ปรากฎผลที่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินงาน โรงเรียนนำร่องเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพการศึกษา เป็นการจัดทำมีไว้เพื่อ "ประกันตนเอง" เนื่องจากคณะกรรมการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดทำเพียงบางส่วน ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นการจัดทำที่ถูกเร่งรัดด้วยเวลาเพียง 2 เดือน อีกทั้งคณะผู้จักทำยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน และคณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ยังไม่เข้าใจ และไม่สนใจ บทบาท หน้าที่ของตน ในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน เพื่อชุมชน จากการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านโรงเรียน และสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนและด้านกระบวนการบริหาร ยังไม่ปรากฎผลการดำเนินงานที่เด่นชัด เนื่องจากขาดงบประมาณ และอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ The purpose of this research was to study the educational quality assurance implementing process of the pilot project province of Uthaithanee Provincial Primary Education. The qualitative method was applied and the field work was conducted the period four months. The data were collected by participant observation, formal and informal interview as well as documentary analysis. The finding were as fallow: The implementing process of the Office of Uthaithanee Provincial Primary Education has commenced since 1998 by accepting the 4 principle policy and which was in according 3 working process of the Office National Primary Education Commission, the quality control, the auditing process and the school quality assessment. As a pilot province, the Office of Uthaithanee Provincial Primary Education implementing quality control process by appropriating locally school standard criteria, through public hearing process. This matter is still on the going process (as 28 February 1999) and trained 50 executives and supervisors officers in order to increase their knowledge about the educational quality assurance and in the hope that they would transmit to 260 schools principles. It was found that most of the transmitting process have been integrated to regular monthly meeting. Special training activities were used by very few. Thus, some of schools principles rarely understand about quality assurance process. Also, no supervisors and monitoring system built in the training activities. The attitude and working behavior of some of the educational officers have not been changed. The appropriation of budget wasn't corresponded to the project activity. As for the solutions to provincial problem regarding knowledge transmissions and participation of the community, the Department of Educational Supervisor has carried on giving academic advice stimulating the performing duties of the school principals to fallow the policy on educational insurance in a hurry by means of adding the issues into the monthly Principal Meeting as well as giving individual assistant in terms of a luck of budget. The director of the Provincial Primary Education has launched a policy on this project by spending in limited amount in budget to maximum utility and efficiency. However, the solutions still don't give viscid result since it is still in the process. At the imitation of quality control stage, This pilot school managed to produce the school charter which was considered to be of "itself assuranced" for the school was pressed with the date line during the 2 months time. So, school council, teachers, parents and community participate in the process. The school charter working committee did not have knowledge of school quality assurance, did not know how to prepare school charter. They also did not realized the important of commentary participation, not interested in their roles of school management by people and for people. From the management according to the school's Four Strategic Plans : Schools and Education Institute, Teacher and Educational Personals, Curricula and Instructions, and Administrative Process, respectively, the results are not clear as well due to a luck of budget and the fact that the profect is still in process. 2009-08-12T03:41:42Z 2009-08-12T03:41:42Z 2541 Thesis 9743322191 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9968 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1182667 bytes 809577 bytes 1308473 bytes 956279 bytes 1195446 bytes 2121844 bytes 930706 bytes application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf application/pdf ไทย อุทัยธานี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย