การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการ เห็นให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้งาน 2) เพื่อออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการเห็นที่ มีความเหมาะสมและปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มคนสายตาเลือนรางและกลุ่มคนตาบอดสนิท จากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศรีสุดา ภู่แย้ม, เจนจิรา เจนจิตรวาณิช, ธรรม จตุนาม
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ภาควิชาวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Format: Article
Language:Thai
Published: 2016
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1031
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการ เห็นให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้งาน 2) เพื่อออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการเห็นที่ มีความเหมาะสมและปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มคนสายตาเลือนรางและกลุ่มคนตาบอดสนิท จากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนตาบอดชาวอีสาน ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด และ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ห้องน้ำสาธารณะมาอย่างน้อย 2 แห่ง สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมภายนอก และเดินทางได้ด้วยตนเองโดยใช้ไม้เท้าขาวจำนวนทั้งหมด 50 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์, แบบสัมภาษณ์ใน ประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานในปัจจุบันและความต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการ สังเกต ด้านการสัมผัส ด้านการเคลื่อนไหว และแบบบันทึกการสังเกต พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของคนตา บอด และมีการจดบันทึกการสังเกตเพื่อนำผลที่ได้มาทำการออกแบบห้องน้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการออกแบบห้องน้ำสาหรับคนพิการทางการเห็น ให้มีความ เหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ศึกษาจากความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการสัมผัส และด้านการเคลื่อนไหว เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการสังเกต สุขภัณฑ์ที่ต้องการใช้งานเป็นแบบนั่งราบ อ่างล้างหน้าที่ต้องการใช้งานเป็นแบบมีเคาน์เตอร์ โถปัสสาวะชาย ส่วนใหญ่ที่ต้องการใช้งาน (เฉพาะเพศชาย 29 คน) เป็นแบบแขวนผนัง ด้านการสัมผัส ลักษณะพื้นที่ ต้องการใช้งานเป็นแบบขรุขระ ลักษณะผนังที่ต้องการใช้งานมีทั้งแบบเรียบและแบบขรุขระ ลักษณะฝ้าเพดาน ที่ต้องการใช้งานเป็นแบบสูงโปร่ง ลักษณะประตูที่ต้องการใช้งานเป็นแบบบานเปิดเข้า ด้านการเคลื่อนไหว ขนาดพื้นที่ห้องน้ำที่ต้องการใช้งาน (เปรียบเทียบจากการเคลื่อนไหว) คือ มีพื้นที่ให้ก้าว 2 – 3 ก้าว 2) นำ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการของกลุ่มตัวอย่างมาใช้เพื่อการออกแบบห้องน้ำสาหรับคนพิการ ทางการเห็น ผลที่ได้คือแนวทางการออกแบบแต่ละองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรม และแบบ ก่อสร้างสาหรับห้องน้ำเดี่ยวจำนวน 3 รูปแบบ คือ แบบห้องน้ำรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบห้องน้ำรูปร่าง สี่เหลี่ยมจตุรัส และแบบห้องน้ำรูปร่างตัวแอล ที่มีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน