ชุดสิทธิประโยชน์ของการบริการกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวในชุมชน

ประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สาหรับการบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ประชาชน แต่การดาเนินงานของกองทุนฯ ยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับชุดสิทธิประโยชน์ของการฟื้นฟูฯ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาข้อเสนอสาหรับองค์ประกอบของชุดสิทธิประโยชน์ของการบริการกา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พรพิมล จันทรวิโรจน์, น้อมจิตต์ นวลเนตร์, ผกาวลี พุ่มสุทัศน์, สุวิทย์ อริยชัยกุล, มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
Format: Article
Language:Thai
Published: 2013
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/10368
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สาหรับการบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ประชาชน แต่การดาเนินงานของกองทุนฯ ยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับชุดสิทธิประโยชน์ของการฟื้นฟูฯ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาข้อเสนอสาหรับองค์ประกอบของชุดสิทธิประโยชน์ของการบริการกายภาพบาบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระยะหลังเฉียบพลันและการดูแลระยะยาวสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว วิธีการวิจัย ประกอบด้วย การทบทวนเอกสาร การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมระดมสมอง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ บุคลากรสุขภาพที่ให้บริการคนพิการ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นอกจากค่าใช้จ่ายทางการบริการกายภาพบาบัดแล้ว สิ่งที่ควรรวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของการบริการระยะหลังเฉียบพลันคือ การคัดกรองและการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจนาไปสู่ความพิการ ส่วนสิทธิประโยชน์สาหรับการดูแลระยะยาวควรครอบคลุมถึงอุปกรณ์ที่ผู้ป่วย/คนพิการจาเป็นต้องใช้บริการจริง ๆ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อเข้ารับบริการอย่างต่อเนื่อง และการจ้างผู้ดูแลด้วย ข้อเสนอแนะของการวิจัยนี้คือ ควรนาระบบการจัดการเป็นรายกรณีมาใช้ในการจัดบริการแก่ผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถนากระบวนการทางานสหสาขาวิชาชีพมาใช้ และคานวณค่าใช้จ่ายมาตรฐานต่อรายผู้ป่วยได้จากกิจกรรมย่อยของแต่ละสาขาวิชาชีพ ทาให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและจัดบริการได้อย่างคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การใช้การจัดการเป็นรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนจาเป็นต้องมีการประสานงานที่ดี เนื่องจากอาจมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังหน่วยสุขภาพได้หลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นของชุมชนและของรัฐ ซึ่งอาจทาให้เกิดการกระจายค่าใช้จ่ายมากเกินควบคุม