อาการสำคัญ การวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินในผู้ป่วยทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการสำคัญ การวินิจฉัย การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินในผู้ป่วยทันตกรรมกลุ่มหนึ่ง ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินทั้งหมด จำนวน 1,724 ราย บันทึกข้อมูล อายุ เพศ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุธารัตน์ ชัยเฉลิมศักดิ์, Sutharat Chaichalermsak, นัยนา บูรณชาติ, Naiyana Buranachad, สุพานี ธนาคุณ, Supanee Thanakun
Format: Article
Language:Thai
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1046
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการสำคัญ การวินิจฉัย การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินในผู้ป่วยทันตกรรมกลุ่มหนึ่ง ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินทั้งหมด จำนวน 1,724 ราย บันทึกข้อมูล อายุ เพศ อาการสำคัญ การวินิจฉัย การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินของผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยทันตกรรม 1,724 ราย เป็นเพศชาย 599 ราย (ร้อยละ 32.4) เพศหญิง 1,165 ราย (ร้อยละ 67.6) อายุระหว่าง 11-87 ปี อายุเฉลี่ย 43.9±15.4 ปี อาการสำคัญที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ ปวดฟัน (ร้อยละ 27.8) รองลงมาคือ เสียวฟัน (ร้อยละ 21.8) และวัสดุเก่ามีปัญหา (ร้อยละ 16.1) การวินิจฉัยที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ โรคเนื้อเยื้อในอักเสบผันกลับไม่ได้และ/หรือเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบ (ร้อยละ 16.6) รองลงมาคือฟันสึกและฟันแตก (ร้อยละ 11.3) และวัสดุอุดฟันชำรุดบกพร่อง (ร้อยละ 10.3) การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ งานทันตกรรมหัตถาการ (ร้อยละ 49.8) รองลงมาคือ งานรักษาคลองรากฟัน (ร้อยละ 32.3) และงานรักษาโรคปริทันต์ (ร้อยละ8.9) บทสรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยทันตกรรมส่วนใหญ่มาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหาโรคของฟันและเนื้อเยื้อใน การรักษาที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นงานทันตกรรมหัตถการและงานรักษาคลองรากฟัน ซึ่งสอดคล้องกับอาการสำคัญและการวินิจฉัย ชี้ให้เห็นว่าโรคฟันผุยังเป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยทันตกรรม การรักษาทางทันตกรรม ร่วมกับการป้องกันโรคฟันผุที่เหมาะสมจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีของผู้ป่วย