การรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างและอิทธิพลของบุคคลรอบข้างต่อความต้องการรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันของผู้ป่วยที่คลินิกจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตระหนักและรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเองของผู้ป่วย อิทธิพลของบุคคลรอบข้างต่อการรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วย และลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วยต่อความต้องการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่คล...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2014
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1052 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตระหนักและรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเองของผู้ป่วย อิทธิพลของบุคคลรอบข้างต่อการรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วย และลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วยต่อความต้องการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่คลินิกจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : สุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษา จำนวน 100 คนจากกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ให้ตอบแบบสอบถามโดยแบ่งกลุ่มคำถามออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ป่วยต่อลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเอง ส่วนที่สองสอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกของบุคคลรอบข้างที่มีต่อลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วย และส่วนสุดท้ายสอบถามผู้ป่วยถึงลักษณะใบหน้าด้านข้างที่มีผลต่อความต้องการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันของผู้ป่วย นอกจากนี้ให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาเลือกภาพเงาดำของลักษณะใบหน้าด้านข้างที่คิดว่าคล้ายคลึงกับลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเองมากที่สุด จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างเงาดำที่เลือกกับลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วย
ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 87 สามารถเลือกภาพเงาดำของลักษณะใบหน้าด้านข้างได้ตรงกับลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเอง สำหรับการสอบถามผู้เข้าร่วมการศึกษาว่ามีบุคคลรอบข้างกล่าวถึงลักษณะใบหน้าด้านข้างหรือไม่ พบว่าเพียงร้อยละ 44 ของบุคคลรอบข้างมีการกล่าวถึงลักษณะใบหน้าด้านข้างของผู้ปวย และผู้เข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 59 ไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะใบหน้าด้านข้างของตนเอง
บทสรุป : การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่คลินิกจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ป่วยกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน มีการรับรู้ลักษณะใบหน้าด้านข้างได้ด้วยตนเอง บุคคลรอบข้างไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ลักษระใบหน้าด้านข้างของผู้ป่วย และลักษณะใบหน้าด้านข้างไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยมาขอรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน |
---|