แนวโน้มความกว้างฟันของผู้อาศัยในกรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อศึกษาความกว้างของฟันในคนกรุงเทพมหานครตั้งแต่พุทธศักราช 2515 ถึง 2551 ทันตแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทันตแพทย์สาขาทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมประดิษฐ์มีความจำเป็นต้องใช้ความกว้างฟันเฉลี่ยที่ได้มาตรฐาน มนุษย์ในยุคใหม่มีแนวโน้มชัดเจนว่ามีความกว้างของฟันแคบลงตามหลัก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: Somchai Manopathanakuk, สมชัย มโนพัฒนกุล, Pornpoj Fuangthrnthip, พรพจน์ เฟื่องธารทิพย์, Wipada Lertrid, วิภาดา เลิศฤทธิ์, Ittigon Law, อิทธิกร แซ่ล้อ, Pemet Boonmegaew, ปีย์เมธ บุญมีขาว
Format: Article
Language:English
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1053
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: English
Description
Summary:วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อศึกษาความกว้างของฟันในคนกรุงเทพมหานครตั้งแต่พุทธศักราช 2515 ถึง 2551 ทันตแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทันตแพทย์สาขาทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมประดิษฐ์มีความจำเป็นต้องใช้ความกว้างฟันเฉลี่ยที่ได้มาตรฐาน มนุษย์ในยุคใหม่มีแนวโน้มชัดเจนว่ามีความกว้างของฟันแคบลงตามหลักวิวัฒนาการ อีกทั้งมีปัจจัยหลายประการทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความกว้างฟัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งน่าสนใจที่จะศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความกว้างฟัน หากพบว่ามีแนวโน้มการลดลงของความกว้างฟัน เหตุผลนี้ส่งผลให้มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาความกว้างฟันซ้ำเป็นระยะๆ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : การศึกษานี้วัดความกว้างฟันจากแบบจำลองฟันที่มีการสบฟันดีของคนกรุงเทพมหานครจำนวน 67 คู่ โดยเริ่มพิมพ์ฟันผู้ป่วยในปีพุทธศักราช 2544 จากผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นเพศชาย 16 คน และเพศหญิง 51 คน (n=67) จากนั้นทดสอบความกว้างของฟันว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศหรือไม่ และนำความกว้างฟันนนี้มาเปรียบเทียบกับความกว้างฟันในการศึกษาที่มีการบันทึกไว้ ผลการศึกษา : จากผลการศึกษาพบว่าฟันเกือบทุกซี่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความกว้างฟันของเพศชายและหญิง ยกเว้นฟันเขี้ยวล่างซ้าย ค่าความกว้างฟันของการศึกษานี้แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้าโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่สามารถตรวจพบแนวโน้มการมีความกว้างฟันลดลงในระยะเวลา 36 ปี บทสรุป : โดยส่วนใหญ่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างความกว้างฟันของการศึกษานี้เมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นๆ ถึงแม้ว่าการหาค่าเฉลี่ยความกว้างฟันเป็นระยะๆ จะเป็นแนวทางที่แม่นยำ การศึกษานี้ไม่สามารถตรวจพบแนวโน้มการแคบลงความกว้างฟัน