ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอและสมุนไพรน้ำมันเมล็ดมะรุมต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์สร้างเส้นใยของเหงือกมนุษย์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอและสมุนไพร น้ำมันเมล็ดมะรุมในด้านความเป็นพิษ และการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างเส้นใยของ เหงือกมนุษย์ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา: นำเซลล์เหงือกไฟโบรบลาสท์ชนิดต่อเนื่อง มาเพาะเลี้ยงในตู้อบ ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1067 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอและสมุนไพร
น้ำมันเมล็ดมะรุมในด้านความเป็นพิษ และการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างเส้นใยของ
เหงือกมนุษย์
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา: นำเซลล์เหงือกไฟโบรบลาสท์ชนิดต่อเนื่อง มาเพาะเลี้ยงในตู้อบ
ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ 37 องศาเซลเซียส 5% ก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 จนได้เซลล์ชั้นเดียว นำมาย่อยด้วยทริปซิน
อีดีทีเอร้อยละ 0.25 ให้เป็นเซลล์เดี่ยวๆ นำเซลล์มาใส่เพลทชนิด 96 หลุมๆละ 1x104 เซลล์
นำเพลทมาบ่มในตู้อบ เป็นเวลา 24 ชม. และนำสารทดสอบสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด มาศึกษา
ประเมินความเป็นพิษ โดยวิธี MTT และนำเซลล์มาใส่เพลทชนิด 96 หลุมๆละ 5x103 เซลล์
จำนวน 5 เพลท/สมุนไพร ภายหลังจากใส่สารทดสอบสมุนไพร นำเพลทมาบ่มในตู้ เป็นเวลา
2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เพื่อศึกษาการแบ่งตัวของเซลล์ของเซลล์ในแต่ละช่วงเวลา โดยการ
ย้อมเซลล์ด้วย SRB (Sulforhodamine B ) โดยให้สารทดสอบสมุนไพรแต่ละชนิดมีความ
เข้มข้นร้อยละ 0.01, 0.1 และ 0.5 (ปริมาตร/ปริมาตร) ส่วนกลุ่มควบคุมใส่อาหารเลี้ยงเซลล์
ดีเอ็มอีเอ็มอย่างเดียว ทำการศึกษาการแบ่งตัวของเซลล์เป็นระยะเวลา 10 วัน
ผลการทดลอง: ด้านประเมินความเป็นพิษของสารสกัดสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอและ
สมุนไพรน้ำมันเมล็ดมะรุมที่ความเข้นข้นร้อยละ 0.01, 0.1 และ 0.5 พบว่าร้อยละ ความมี
ชีวิตของเซลล์ต่อสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอเท่ากับ 104.08±4.90, 104.48±3.2 และ97.55±
2.5 เรียงตามลำดับ ส่วนสมุนไพรน้ำมันเมล็ดมะรุมเท่ากับ 108.55±4.10, 110.36±3.31
และ107.60±2.6 เรียงตามลำดับ ด้านการแบ่งตัวของเซลล์ต่อสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอ พบ
ว่า ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.01, 0.1 และ 0.5 มีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ในวันที่ 8
โดยมีเปอร์เซนต์การแบ่งตัวของเซลล์ของเซลล์ (% cell Proliferation) เท่ากับ 117.85±
10.37, 125±14.31 และ 130.35±11.35 เรียงตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุม เท่ากับ
100 (P<0.05) ส่วนการแบ่งตัวของเซลล์ต่อสมุนไพรน้ำมันเมล็ดมะรุม พบว่า ที่ความเข้มข้น
ร้อยละ 0.01, 0.1 และ 0.5 มีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ในวันที่ 8 โดยมีเปอร์เซนต์การ
แบ่งตัวของเซลล์ เท่ากับ 104.28±10.57, 114.28±15.35 และ118.57±11.35 เรียงตาม
ลำดับ ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุม เท่ากับ 100 (P<0.05)
บทสรุป: สารสกัดสมุนไพรกลีเซอรีนพญายอและสมุนไพรน้ำมันเมล็ดมะรุม ที่ความเข้มข้น
ร้อยละ 0.01, 0.1 และ 0.5 ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์สร้างเส้นใยของเหงือกมนุษย์ ส่วนการ
ศึกษาฤทธิ์การแบ่งตัวของเซลล์มีการเพิ่มจำนวนเซลล์จากสารทดสอบ ทำให้ผลที่ได้มีแนวโน้ม
ที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับรักษาโรคในช่องปากได้ โดยสารมีฤทธิ์ในการกระตุ้น
การแบ่งตัวของเซลล์ (cell proliferation)ด้วย |
---|