ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียของโปรพอลิสต่อเชื้อเอ็นเทอโรคอกคัส ฟีคัสลิส และเชื้อพอร์ฟีโรโมแนส จินจิวาลิส

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการต้านเชื้อแบคทีเรียของโปรพอลิสต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในคลองรากฟันที่ติดเชื้อ 2 ชนิด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : นำโปรพอลิส (โกลบอลสตาร์โปรพอลิส) ซึ่งประกอบด้วยโปรพอลิสละลายในตัวทำละลายโมโนโพรไพลีนไกลคอล ในปริมาณ 1:1 โดยน้ำหนัก เตรียมสารละลายโปรพอลิสข้างต้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จินตนา สาระบรรจง, Jintana Sarabunchong, ธนิยา หมวดเชียงคะ, Thaniya Muadcheingka
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1095
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการต้านเชื้อแบคทีเรียของโปรพอลิสต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในคลองรากฟันที่ติดเชื้อ 2 ชนิด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : นำโปรพอลิส (โกลบอลสตาร์โปรพอลิส) ซึ่งประกอบด้วยโปรพอลิสละลายในตัวทำละลายโมโนโพรไพลีนไกลคอล ในปริมาณ 1:1 โดยน้ำหนัก เตรียมสารละลายโปรพอลิสข้างต้นโดยเติมดีเอ็มเอสโอร้อยละ 5 คิดเป็นสารละลายตั้งต้นของโปรพอลิส 515 มิลลิกรัมต่มมิลลิลิตร จากนั้นเจือจางด้วยน้ำกลั่นให้ได้สารละลายโปรพอลิสความเข้มข้น 103, 20.6 และ 4.12 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อเอ็นเทอโรคอกคัส ฟีคัลลิส และเชื้อพอร์ฟิโรโมแนส จินจิวาลิสด้วยวิธีดิสค์ดิฟฟิวชั่น โดยมีคลอเฮกซิดีนร้อยละ 0.2 เป็นตัวควบคุมบวกและหาความเข้มข้นของโปรพอลิสที่น้อยที่สุดที่มีผลทำลายเชื้อทั้ง 2 ชนิดด้วยวิธีบรอธไดลูชั่น ผลการศึกษา : โปรพอลิสสามารถยับยั้งและทำลายเชื้อแบคที่เรียทั้ง 2 ชนิดได้โดยค่าความเข้มข้นของโปรพอลิสที่น้อยที่สุดที่มีผลทำลายเชื้อเอ็นเทอโรคอกคัสฟีคัลลิส และเชื้อพอร์ฟิโรโมแนส จินจิวาลิส คือ 34.33 และ 3.22 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ บทสรุป : โปรพอลิสสามารถยับยั้งและทำลายเชื้อเอ็นเทอโรคอกคัส ฟีคัลลิสและเชื้อพอร์ฟิโรโมแนส จินจิวาลิส แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าคลอร์เฮกซิดีนร้อยละ 0.2