ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง ที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อมราวดี บุราณรมย์, Amarawadi Buranrom, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, Wanida Sanasuttipun
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/11054
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง ที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 แห่ง และได้ย้ายมายังหอผู้ป่วยสามัญไม่เกิน 24 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองที่มีบุตรอยู่ในระยะก่อนย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย: ผู้ปกครองมีความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(t = 6.885, p = .000) ค่าเฉลี่ยคะแนนความต้องการสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการได้รับการตอบสนองความต้องการโดยประเด็นที่ผู้ปกครองมีความต้องการและได้รับการตอบสนองความต้องการมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ ข้อมูลข่าวสารความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตร และการดูแลด้านจิตใจ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้การดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองให้ครอบคลุม โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตร และการดูแลด้านจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อกับผู้ปกครองทันทีเมื่อบุตรมีอาการเปลี่ยนแปลง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การคาดการณ์ผลการรักษา การให้ความมั่นใจว่าบุตรจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดก่อนย้าย และการพูดปลอบโยนและให้กําลังใจ เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม ครอบคลุม และสอดคล้องตามความต้องการในช่วงระยะก่อนที่บุตรจะย้ายออกจากหออภิบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม