ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทํานายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง ได้แก่ ความรุนแรงของโรคมะเร็ง เพศ ลําดับการเกิด การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดของบิดามารดา รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 9-1...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิภาวี พลแก้ว, Wipawee Ponkaew, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, Wanida Sanasuttipun
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/11055
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทํานายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง ได้แก่ ความรุนแรงของโรคมะเร็ง เพศ ลําดับการเกิด การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดของบิดามารดา รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่มีอายุระหว่าง 9-18 ปีที่มีพี่หรือน้องป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และบิดามารดาจํานวน 92 คู่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของพี่น้องเด็กป่วย แบบสอบถามความเครียดของบิดามารดาเด็กป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: การสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .21, p < .05) และพบว่า ความรุนแรงของโรคมะเร็ง (β = - .16, p = .130) เพศ (β = .06, p = .532) ลําดับการเกิด (β = - .09, p = .388) การสนับสนุนทางสังคม (β = .20, p = .058) และความเครียดของบิดามารดา (β = - .06, p = .536) ไม่สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการปรับตัวของพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็งได้ สรุปและข้อเสนอแนะ:พยาบาลควรพัฒนารูปแบบกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลพี่น้องเด็กป่วยโรคมะเร็ง โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนช่วยเหลือด้านต่างๆ ได้แก่ การให้ข้อมูล การช่วยให้พี่น้องประเมินคุณค่าตนเองทางบวก การช่วยเหลือด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านอารมณ์ เพื่อให้พี่น้องเด็กป่วยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น