ความต้านทานต่อการแตกหักของฟันที่รักษาคลองรากและบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดบ่มตัวด้วยแสงร่วมกับปฏิกิริยาเคมีในคลองรากที่ระดับความลึกต่างกัน

วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบค่าแรงต้านทานการแตกหักของฟันที่ได้รับการรักษาคลองรักฟันและบูรณะด้วยวัสดุทำแกนชนิดเรซินคอมโพสิตชนิดบ่มตัวด้วยแสงร่วมกับปฏิกิริยาเคมีในคลองรากฟันที่ระดับความลึกที่แตกต่างกัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: ฟันกรามน้อยล่างมนุษย์จำนวน 40 ซี่ นำมารักษาคลองรากและเตรียมโพรงฟันด...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปิยาภรณ์ คู่ศรีสมทรัพย์, Piyaporn Kusrisomsup, นาฏยา วงษ์ปาน, Nataya Vongphan, อมรา ม่วงมิ่งสุข, Amara Muangmingsuk, พิศลย์ เสนาวงษ์, Pisol Senawongse
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1115
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบค่าแรงต้านทานการแตกหักของฟันที่ได้รับการรักษาคลองรักฟันและบูรณะด้วยวัสดุทำแกนชนิดเรซินคอมโพสิตชนิดบ่มตัวด้วยแสงร่วมกับปฏิกิริยาเคมีในคลองรากฟันที่ระดับความลึกที่แตกต่างกัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: ฟันกรามน้อยล่างมนุษย์จำนวน 40 ซี่ นำมารักษาคลองรากและเตรียมโพรงฟันด้านใกล้กลาง-ด้านบดเคี้ยว-ด้านไกลกลาง(MOD) แบ่งฟันออกเป็น 4 กลุ่ม ทำการเตรียมช่องว่างสำหรับเดือยฟันตามความลึกของกัตตเปอร์ชาที่ตัดไว้ ดังนี้ กลุ่มที่ 1: (กลุ่มควบคุม)ตัดกัตตาเปอร์ชาในคลองรากถึงระดับรอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน กลุ่มที่ 2: ตัดกัตตาเปอร์ชาต่ำจากรอยต่อเคลือบรากฟัน 3 มิลิเมตร กลุ่มที่ 3: ตัดกัตตาเปอร์ชาต่ำจากรอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟันเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะจากยอดปุ่มฟันด้านแก้มถึงตำแหน่งต่ำกว่ารอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน 3 มิลลิเมตร และ กลุ่มที่ 4: ตัดกัตตาเปอร์ชาต่ำจากรอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟันเท่ากับความสูงตัวฟันการบูรณะโพรงฟันและช่องว่างสำหรับเดือยฟันด้วยเรซินคอมโพสิตมัลติคอร์โฟล จากนั้นนำไปทดสอบความต้านทานการแตกหักโดยวัดค่าแรงกดอัดด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล นำค่าแรงที่ทำให้เกิดการแตกหักไปวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0..5 ผลการศึกษา: ฟันกลุ่มควบคุมที่ทำการบูรระด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตถึงระดับรอยต่อของเคลือบฟันและเคลือบรากฟันมีค่าความต้านทานการแตกหักน้อยกว่ากลุ่มบูรณะอื่นๆอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มที่บูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตลงในคลองรากฟันที่ระดับต่ำกว่ารอยต่อของเคลือบรากฟันในระดับความลึกต่างๆกัน (p>0.05) ส่วนรูปแบบการแตกหักของฟันทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) บทสรุป: การบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตในฟันที่ผ่านการรักษาคลองราก จะมีความต้านทานต่อการแตกหักสูงขึ้นเมื่อทำการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตลงในคลองรากฟันที่ระดับต่ำกว่ารอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน