ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความกลัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประนอม พรมแดง, Pranom Phromdeang, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Suporn Danaidutsadeekul, อรพรรณ โตสิงห์, Orapan Thosingha, ภควัฒน์ ระมาตร์, Patkawat Ramart
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/11201
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความกลัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การสนับสนุนทางสังคม กับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพศชายและเพศหญิงที่มารับการตรวจและรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จํานวน 90 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเจ็บป่วย ระยะเวลาการมารับการรักษา การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความรู้เรื่องโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความกลัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย: ระยะเวลาการมารับการรักษา ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการผิดปกติครั้งแรกจนมารับการรักษากับแพทย์ศัลยศาสตร์ยูโร ระยะเวลาต่ําสุด 1 วัน สูงสุด 1,460 วัน ค่าเฉลี่ย 183.72 วัน (SD = 281.99) ค่ามัธยฐาน 60 วัน การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีความสัมพันธ์ทางลบ กับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (rs = - .49, p < .01) ความรู้เรื่องโรคของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (rs = - .42, p < .01) แต่ความกลัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติของโรค และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรมีการเผยแพร่ให้คําแนะนํา ความรุนแรงของโรค และความรู้เรื่องโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะให้เป็นที่แพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนมารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเวลาที่เร็วขึ้น Corresponding Author: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพร ดนัยดุษฎีกุล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700; e-mail: suporn.dan@mahidol.ac.th1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลJ Nurs Sci. 2013;31(3):76-85