ความเป็นพิษต่อเซลล์ของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีโมโนแคลเซียมซิลิเกตผสมต่อเซลล์เนื้อเยื้อในฟันมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอและคีแทคโมลาร์
วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จะทำการทดสอบวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ของกลาสอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีสารประกอบโมโนแคลเซียมซิลิเกต (จีไอซีซีเอส) ต่อเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์โดยทำการเปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ และคีแทคโมลาร์ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: นำเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์มาทำการกระต...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1121 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จะทำการทดสอบวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ของกลาสอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีสารประกอบโมโนแคลเซียมซิลิเกต (จีไอซีซีเอส) ต่อเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์โดยทำการเปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ และคีแทคโมลาร์
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: นำเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์มาทำการกระตุ้นด้วยสารสกัดทดสอบของไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ
คีแทคโมลาร์อีซี่มิกซ์, โมโนแคลเซียมซิลิเกต,จีไอซีซีเอสชนิดละ 5 ความเข้มข้น (ความเข้มข้นสูงสุด (0.2 กรัมต่อมิลลิลิตร), เจือจาง 1 ต่อ 1, ต่อ 2, เจือจาง 1 ต่อ 4, เจือจาง 1 ต่อ 8) เป็นระยะเวลา 24 ชั่งโมง หลังจากนั้นทำการทดสอบวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธีเอ็มทีที โดยวัดค่าระดับความทึบแสงด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 570 นาโนเมตร และทำการศึกษาถึงลักษณะรูปร่างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ดูความเปลี่ยนต่างเฟส
ผลการศึกษา: พบว่าทุกระดับความเข้มข้นของสารสกัดจีไอซีซีเอส ไม่เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์ ซึ่งค่าระดับความทึบแสงมีค่าไม่แตกต่างจากไวท์โปรรูทเอ็มทีเอและคีแทคโมลาร์อีซี่มิกซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และจากการศึกษารูปร่างของเซลล์พบว่าเซลล์มีลักษณะเรียวแหลม ยึดตัว มีการยื่นสัมผัสกันของซัยโตพลาสมิคโปรเซส และอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น
บทสรุป: จีไอซีซีเอสไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อในฟันมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นอีกทางเลือกที่จะนำมาพัฒนาเป็นสารใช้ปิดแผลเนื้อเยื่อในต่อไป |
---|