รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยชุมชน

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการดูแล ปัญหาความต้องการ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุติดเตียงหรือผู้ดูแล และสนทนากลุ่มองค์กรต่างๆ ในตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา และตำบลจรเข้เผือก อำเภอด่านม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ปราณี สุทธิสุคนธ์, สมชาย วิริภิรมย์กูล
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
Format: Article
Language:Thai
Published: 2017
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1351
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการดูแล ปัญหาความต้องการ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุติดเตียงหรือผู้ดูแล และสนทนากลุ่มองค์กรต่างๆ ในตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา และตำบลจรเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปผล และนำเสนอตามประเด็นต่างๆ ที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง แบ่งออกเป็น 8 รูปแบบ คือ การดูแลตนเอง การดูแลโดยครอบครัว การดูแลโดยเพื่อนบ้าน การดูแลโดยผู้นำชุมชน การดูแลโดยชมรมผู้สูงอายุ การดูแลโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดูแล มีผู้ดูแล และมีผู้ดูแลแต่ไม่ยอมดูแล การดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และการดูแลโดยสถานบริการสุขภาพ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ผู้สูงอายุติดเตียงไม่ให้ความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัด ผู้ดูแลไม่มีเวลาและรู้สึกเหนื่อย/ท้อแท้ ขาดนักกายภาพบำบัด/นักพัฒนาสังคมลงพื้นที่ช่วยเหลือดูแล และขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ดังนั้นจึงมีความต้องการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแล/อสม. เรื่องการรักษาพยาบาล/ทำกายภาพบำบัด จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้พิการในชุมชน และให้องค์กรต่างๆ ในชุมชนลงพื้นที่ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือดูแลสุขภาพ มอบอาหาร ยา เงิน และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ข้อเสนอแนะคือ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นการดูแลจากครอบครัวเป็นหลักโดยต้องอบรมให้ความรู้ในการดูแล ทำกายภาพบำบัด ร่วมกับให้ อสม. เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ดูแลสุขภาพ ประสานการส่งต่อกรณีฉุกเฉิน ส่วนหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุนบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ตลอดจนกำหนดเป็นนโยบายการดูแลระยะยาวที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันทั้งประเทศ