การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะข้อเท้าติดสามารถใช้เพื่อการฟื้นฟูการขยับข้อเท้าที่สามารถนำมาใช้ได้ในระดับชุมชน โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่งเป็น...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นิดา วงศ์สวัสดิ์, เบญจพร ศักดิ์ศิริ
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา
Format: Article
Language:Thai
Published: 2017
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1352
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะข้อเท้าติดสามารถใช้เพื่อการฟื้นฟูการขยับข้อเท้าที่สามารถนำมาใช้ได้ในระดับชุมชน โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่งเป็นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้า ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าได้ด้วยตัวเอง โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและบริบทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย การออกแบบใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ปลอดภัย ใช้งานง่าย การดูแลรักษาง่ายและมีราคาเหมาะสม และนำไปทดสอบการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เพื่อนำผลการทดสอบมาปรับปรุงอุปกรณ์ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ขั้นตอนที่สองเป็นการทดสอบและประเมินประสิทธิผลของอุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าโดยดำเนินการวิจัยกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน ประเด็นในการประเมินประกอบด้วย ภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็ง ภาวะข้อเท้าติด และประเมินความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้า ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของมุมกระดกข้อเท้าขึ้นเพิ่มขึ้นเป็น 7.98 องศาและค่าเฉลี่ยของมุมกระดกข้อเท้าลงเพิ่มขึ้นเป็น 8.02 องศา โดยค่าเฉลี่ยของมุมการเคลื่อนไหวกระดกข้อเท้าขึ้นหลังใช้อุปกรณ์ช่วยขยับ ข้อเท้ามีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยก่อนใช้อุปกรณ์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยของมุมการเคลื่อนไหวกระดกข้อเท้าขึ้นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการพิจารณาค่าภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งพบว่าในกลุ่มทดลองมีค่าภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งน้อยกว่าค่าภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในกลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า หลังจากใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยขยับข้อเท้าพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีภาวะกล้ามเนื้อข้อเท้าหดเกร็งลดลง