การเปรียบเทียบเชิงไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะชูตลูกโทษระหว่างนักกีฬาวีลแชร์ บาสเกตบอลกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยและนักกีฬาที่มีประสบการณ์

การชูตลูกโทษเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของวีลแชร์บาสเกตบอล เนื่องจากเป็นโอกาสที่จะทำแต้มในการแข่งขัน ถึงแม้ว่าการศึกษาที่ผ่านมามีความสนใจศึกษาในส่วนของไคเนมาติกส์ของรยางค์บนขณะทำการชูตลูกโทษ การศึกษาในเรื่องคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์บนขณะชูตลูกโทษยังมีอยู่จำกัดและการศึกษาร่วมกันทั้งไคเนมาต...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปรัญชญา แจ่มกระจ่าง, วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, เมตตา ปิ่นทอง, วรรธนะ ชลายนเดชะ
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
Format: Article
Language:Thai
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1452
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การชูตลูกโทษเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของวีลแชร์บาสเกตบอล เนื่องจากเป็นโอกาสที่จะทำแต้มในการแข่งขัน ถึงแม้ว่าการศึกษาที่ผ่านมามีความสนใจศึกษาในส่วนของไคเนมาติกส์ของรยางค์บนขณะทำการชูตลูกโทษ การศึกษาในเรื่องคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์บนขณะชูตลูกโทษยังมีอยู่จำกัดและการศึกษาร่วมกันทั้งไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อรยางค์บนทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อและกลไกการชูตลูกโทษได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการชูตลูกโทษได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ ศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและความแตกต่างของไคเนมาติกส์ของนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลขณะชูตลูกโทษลงห่วง ระหว่างกลุ่มที่เริ่มหัดเล่นหรือมีประสบการณ์น้อย (NOV) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ อาสาสมัครเข้าร่วมในงานวิจัยนี้เป็นนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลจำนวน 11 คน ระดับความพิการอยู่ในช่วง 3.0-4.5 แต้ม แบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์น้อย จำนวน 3 คน (อายุเฉลี่ย 27.7 ± 4.16 ปี , น้ำหนัก 53.7 ± 4.51 กก., ส่วนสูง 136.0 ± 1.00 ซม.) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ จำนวน 8 คน (อายุเฉลี่ย 31.3 ± 5.92 ปี, น้ำหนัก 61.5 ± 5.53 กก., ส่วนสูง 142.6 ± 5.53 ซม.) นักกีฬาแต่ละคนชูตลูกโทษ 10 ครั้ง เลือกลูกที่ลง 2 ลูกมาวิเคราะห์ บันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บน ได้แก่ กล้ามเนื้อ anterior deltoid (AD), biceps (BB), triceps (TB), brachioradialis (BRD), wrist flexor (WF) และ wrist extensor (WE) โดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแบบ surface ที่ความถี่ 1000 เฮิร์ต ติดอิเลคโทรด 6 ตำแหน่งและมาร์คเกอร์จำนวน 7 มาร์คเกอร์บนแขนข้างที่ทำการชูต ทำการบันทึกค่าทางไคเนมาติกส์โดยใช้กล้องวีดิโอ 3 ตัว ที่ความถี่ 60 เฮิร์ต ผลการทดลองพบว่า anterior deltoid และ triceps เป็นกล้ามเนื้อหลักสองมัดที่ใช้ทำการชูตลูกโทษใน execution phase ของทั้งสองกลุ่ม ใช้ Mann-Whitney U test ทดสอบพบว่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ wrist extensor ช่วง execution phase ของกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีค่ามากกว่ากลุ่มนักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย (NOV) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.03) กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีจุดปล่อยบอลสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.02) แม้ว่ามุมของข้อต่อรยางค์บนและความเร็วเชิงมุมจะไม่มีความแตกต่างกันแต่ก็พบว่านักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์มีความเร็วเชิงมุมของการงอข้อมือเร็วกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย สรุปว่าการเคลื่อนที่ของมุมข้อมือเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้การชูตลูกโทษประสบความสำเร็จ