ผลของการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอลต่อความปวดของผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดไส้ติ่ง 24 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความปวดในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนหลังผ่าตัดไส้ติ่ง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตาม ปกติร่วมกับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เล่นเกมดิจิตอล กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และเพื่อศึกษารูปแบบความ ปวดของผู้ป่วยเด็กภายหลังการเล่นเกมดิจิตอลในระยะ 15 นาทีแรก รูปแบบการวิจัย: กา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, Wanida Sanasuttipun, สุชาดา สุนทรศิริทรัพย์, Suchada Sunthornsirisap
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/15266
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความปวดในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนหลังผ่าตัดไส้ติ่ง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตาม ปกติร่วมกับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เล่นเกมดิจิตอล กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และเพื่อศึกษารูปแบบความ ปวดของผู้ป่วยเด็กภายหลังการเล่นเกมดิจิตอลในระยะ 15 นาทีแรก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็ก 50 คน อายุระหว่าง 7-15 ปี ที่ ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับ การพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยเล่นกมดิจิตอล 30 นาที ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบ บันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัย: หลังได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอล การเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดใน กลุ่มทดลองมากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.81, p < .001) แสดงว่า การเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้ เกมดิจิตอลสามารถลดความปวดในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดไส้ติ่ง 24 ชั่วโมงได้ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมการนำเกมดิจิตอลมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อลด ความปวดในผู้ป่วยเด็กภายหลังผ่าตัดไส้ติ่ง