ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรวรรณ ปรางประสิทธิ์, Orawan Prangprasit, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, Suporn Danaidutsadeekul, อรพรรณ โตสิงห์, Orapan Thosingha, ภควัฒน์ ระมาตร์, Patkawat Ramart
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/15276
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก 3 เดือนขึ้นไปที่ผ่าตัดด้วยกล้องและแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด 88 ราย ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2556 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกาย3) แบบประเมินความรู้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 4) แบบประเมินโรคร่วม 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ที่มีปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากค่อนข้างสูง(X = 88.8, SD = 10.63) มีระดับการออกกําลังกายที่มีการใช้พลังงานในการมีกิจกรรมทางกายอยู่ระหว่าง 52.36-293.91หน่วยพลังงานมาตรฐาน ชั่วโมง/สัปดาห์ ร้อยละ 58 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ69.3 มีระดับความรุนแรงของโรคร่วมในระดับน้อย และพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - .22, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรมีการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ความรู้ไปพร้อมกับการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานก่อนการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก ตลอดทั้งควรมีการติดตามเป็นระยะ เพราะทุกขั้นตอนมีความสําคัญยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน