การศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการเหนื่ยวนำให้เกิดการสลบ พฤติกรรมการสลบและการฟื้นสลบในปลาการ์ตูนแดง (Amphiprion rubacinctus) โดยใช้น้ำมันกานพลู (Clove oil) ที่มีความเข้มข้นต่างๆ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลา พฤติกรรมการสลบและการฟื้นสลบในปลาการ์ตูน-แดง (Amphiprion rubacinctus)โดยใช้น้ำมันกานพลู (Clove oil)ที่มีความเข้มข้นต่างๆ โดยแบ่งปลาแบบสุ่ม จำนวน 60 ตัว ออกเป็น 12 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 ถึง 10 ใช้น้ำมันกานพลูขนาด 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2011
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1659 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลา พฤติกรรมการสลบและการฟื้นสลบในปลาการ์ตูน-แดง (Amphiprion rubacinctus)โดยใช้น้ำมันกานพลู (Clove oil)ที่มีความเข้มข้นต่างๆ โดยแบ่งปลาแบบสุ่ม จำนวน 60 ตัว ออกเป็น 12 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 ถึง 10 ใช้น้ำมันกานพลูขนาด 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80, 90 และ 100 ppm ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ 11 ใช้ MS-222 ในขนาด 75 ppm เป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก และกลุ่มที่ 12 ใช้ 95% เอทานอล ในขนาด 1000 ppm เป็นกลุ่มควบคุมเชิงลบ ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการเหนี่ยวนำการสลบที่ให้ระดับ 3 เพลน 2 ของกลุ่มที่ใช้น้ำมันกานพลู (Clove oil) มีแนวโน้มในการใช้ระยะเวลาเหนี่ยวนำการสลบที่ลดน้อยลง เมื่อความเข้มข้นของน้ำมันกานพลูเพิ่มสูงขึ้น และพบว่าความเข้มข้นของน้ำมันกานพูลขนาด 60 ppm เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมและดีที่สุดในการเหนี่ยวนำให้เกิดการสลบถึงระดับ 3 เพลน 2 และความเข้มข้นที่สามารถวางยาสลบในปลาการ์ตูนแดง (Amphiprion rubacinctus)ได้ควรอยู่ที่ 30-70 ppm ทำให้ปลามีระยะเวลา พฤติกรรมการสลบและฟื้นสลบที่เหมาะสม และผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทั้งก่อนและหลังทำการทดลองทุกกลุ่มการทดลอง โดยตรวจค่าไนไตรท์ (NO2)คลอรีน (Cl2)แอมโมเนีย (NH4)ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity) และค่าพีเอช (pH)พบว่าน้ำมันกานพลู (Clove oil)ไม่มีผลทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง |
---|