ค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดแมวที่มีสุขภาพดี
ค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดมีความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพ วินิจฉัยโรค และพยากรณ์โรคในสัตว์ อย่างไรก็ตาม การจะบ่งบอกว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้นั้นมีความผิดปกติหรือไม่ จำเป็นต้องนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงมาตรฐาน ซึ่งค่าอ้างอิงมาตรฐานของเลือดแมวที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น เป็นค่าอ้างอิงที่ได้...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2016
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1701 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดมีความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพ วินิจฉัยโรค และพยากรณ์โรคในสัตว์ อย่างไรก็ตาม การจะบ่งบอกว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้นั้นมีความผิดปกติหรือไม่ จำเป็นต้องนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงมาตรฐาน ซึ่งค่าอ้างอิงมาตรฐานของเลือดแมวที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น เป็นค่าอ้างอิงที่ได้มาจากงานวิจัยของต่างประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าความแตกต่างในสายพันธุ์ สภาพแวดล้อม รวมถึงอาหารการกินที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้ค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดแมวจากต่างประเทศ มีความแตกต่างจากค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดของแมวที่มีถินฐานอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาหาค่าอ้างอิงมาตรฐานของแมวที่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำค่าอ้างอิงมาตรฐานที่ได้มาปรับใช้ในห้องปฏิบัติการ การศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากแมวที่มีสุขภาพดี ซึ่งมารับบริการที่โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร จากนั้นนำมาตรวจหาค่าทางโลหิตวิทยาและค่าเคมีคลินิกในเลือด โดยใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ทำการนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว โดยทำการเสมียร์เลือดแล้วย้อมด้วยสี Modified-Wrightûs Geimsa สำหรับค่าเคมีคลินิกในเลือดที่ทำการวิเคราะห์ ได้แก่ ยูเรียไนโตรเจน (BUN) ครีอะตินีน (Creatinine) เอนไซม์อะลานีนอะมิโนทรานเฟอเรส (ALT) เอนไซม์แอสปาเตสอะมิโนทรานเฟอเรส (AST) เอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส (ALP) และโปรตีนรวม (TP) จากการศึกษาพบว่าค่าทางโลหิตวิทยาและค่าเคมีคลินิกในเลือดที่ได้นั้นมีการกระจายตัวแบบปกติ ยกเว้น อีโอสิโนฟิล (Eosinophil) เบโซฟิล (Basophil) และโมโนซัยต์ (Monocyte) โดยพบว่าสายพันธุ์ อายุ และเพศ ส่งผลกระทบต่อค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกในเลือดบางค่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
---|