ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานกับผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ของสถานีอนามัย ในจังหวัดนครปฐม

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงาน กับผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ของสถานีอนามัย ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรหลักที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพในสถานีอนามัย จำนวน 133 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, วันเพ็ญ แก้วปาน, ปราณี ตั้งจารุวัฒนชัย
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
Format: Article
Language:Thai
Published: 2017
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2138
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงาน กับผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ของสถานีอนามัย ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรหลักที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพในสถานีอนามัย จำนวน 133 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์หาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติวิเคราะห์การจำแนกพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานส่งเสริมของสถานีอนามัยในภาพรวมอยู่ในระดับดีร้อยละ 59.4 ผลการดำเนินงานที่มีคะแนนสูงสุดคือ การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 93.5 ในภาพรวมของความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 37.6 การจัดสรรทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 64.7 และการสนับสนุนทรัพยากร กายภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 72.0 ด้านความพึงพอใจเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน และทรัพยากรกายภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.4, 55.6 และ 63.2 ตามลำดับ ด้านการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพทั้ง 5 ด้านพบว่าผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพได้ปฏิบัติ เกี่ยวกับการวางแผนสูงสุด (X=3.64+5.81) ส่วนการบริหารงานบุคคลปฏิบัติน้อยที่สุด (X=3.19+3.90) จำนวนเจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัย และความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน สามารถอธิบายความผันแปรของผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 10.2 ดังนั้นควรมีการพิจารณาจัดสรรอัตรากำลัง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ร่วมงานเกี่ยวกับงานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น