ปัจจัยทํานายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตประจําปี พ.ศ. 2555-2556

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยทํานายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงบรรยาย (Retrospective-descriptive study) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ยุวดี วัฒนานนท์, Yuwadee Wattananon, วิลาวัลย์ ดวงล้อมจันทร์, Viravon Daunglomchan, วรรณทิน ยิ่งพัฒนพันธ์, Wantin Yingpatthanapon, บุญมี วัฒนานนท์, Boonmee Wattananon, วาสนา จิติมา, Vasana Jithima
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21885
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยทํานายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงบรรยาย (Retrospective-descriptive study) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งที่สําเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ คือ เป็นนักศึกษาที่ไม่ตกซ้ําชั้น และมีข้อมูลของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครบถ้วน ได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2555 จําานวน 164 คน และบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2556 จําานวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลซึ่งมีการบันทึกมาจากหน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา และหน่วยจัดการการศึกษาของสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: ปัจจัยเดียวที่สามารถทํานายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในปี พ.ศ. 2555 ได้อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ คือ คะแนนรวมทุกหมวดวิชาของการสอบรวบยอดสาขาพยาบาลศาสตร์ (β = .45, p < .01) และปัจจัยเดียวที่สามารถทํานายผลการสอบในปีพ.ศ. 2556 ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ จํานวนหมวดวิชาที่สอบผ่านในการสอบรวบยอดสาขาพยาบาลศาสตร์ (β = .19 , p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: แม้ว่าปัจจัยทํานายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของกลุ่มตัวอย่างในปีพ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 จะแตกต่างกัน แต่เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสอบรวบยอดสาขาพยาบาลศาสตร์ คือ คะแนนรวมทุกหมวดวิชา และจํานวนหมวดวิชาที่สอบผ่าน ดังนั้นสถาบันการศึกษาพยาบาลจึงควรให้ความสําคัญกับการสอบรวบยอดสาขาพยาบาลศาสตร์ และรักษามาตรฐานของการจัดการสอบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตในการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อไป