ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำางานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคม ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความ พึงพอใจในงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการ ทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล กลุ่มตัวอย่างเป็น พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 417 คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2191 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคม ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความ พึงพอใจในงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการ ทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล กลุ่มตัวอย่างเป็น พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 417 คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดทางจิตใจจนเกิดอาการ เจ็บป่วยทางกาย ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับเสี่ยงและระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 24.9, 23.7, และ 18.2 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจ ในงานในระดั บต่ำคิดเป็นร้ อยละ 39.0 ผลการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุพบว่า ผลตอบแทนจากงานเป็น
ปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของ การเกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งหมด และความพึงพอใจ ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้าน จิตสังคมในการทำงานทุกตัวแปร (การทุ่มเทในการ ทำงาน ผลตอบแทนจากงาน และความมุ่งมั่นที่มาก เกินไปต่องานที่รับผิดชอบ) สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของการเกิดภาวะวิตกกังวลอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะคือบุคลากรที่ร่วม รับผิดชอบดูแลสุขภาพของพนักงานควรตระหนักและ คำนึ งถึงการจัดให้พนั กงานได้รับผลตอบแทนจากการ ทำงานในรูปแบบต่างๆ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ |
---|